แหล่งท่องเที่ยวสถานที่ศักดิ์สิทธิ์รอบบึงแก่นนคร จ.ขอนแก่น: ประวัติศาสตร์การหาอยู่หากิน ปรัชญาชีวิต และพื้นที่ศักดิ์สิทธิ์ศูนย์รวมจิตใจ

แหล่งท่องเที่ยวสถานที่ศักดิ์สิทธิ์รอบบึงแก่นนคร จ.ขอนแก่น: ประวัติศาสตร์การหาอยู่หากิน ปรัชญาชีวิต และพื้นที่ศักดิ์สิทธิ์ศูนย์รวมจิตใจ

An English version is down below. (ภาษาอังกฤษด้านล่าง)

บทความนี้ได้ทำการเรียงสถานที่ต่างๆ ในทิศทางตามเข็มนาฬิกา หรือ ถ้าท่องเที่ยววัดหนองแวง พระอารามหลวง ก็จะสามารถขี่จักรยานหรือเดินบริเวณริมบึงแก่นนคร ไปยังวัดกลาง ศาลเจ้าปู่มเหศักดิ์ วัดธาตุ พระอารามหลวง อนุสาวรีย์พระนครศรีบริรักษ์ ศาลเจ้าปึงเถ่ากงม่า ศาลเจ้าปู่ญาคูเย็น เจ้าแม่กวนอิม วัดโพธิ์บ้านโนนทัน วัดเสาเดียว และศาลเจ้าแม่สองนาง 

แผนที่ บึงแก่นนคร ขอนแก่น วัด สถานที่ศักดิ์สิทธิ์รอบบึงแก่นนคร

แผนที่รอบบึงแก่นนคร download map ที่นี่

แผนที่ บึงแก่นนคร ขอนแก่น

คำอธิบายสถานที่ศักดิ์สิทธิ์รอบบึงแก่นนคร  download ที่นี่

นับตั้งแต่ปี พ.ศ.2332 เพียเมืองแพนพาชาวบ้านกว่า 330 คน อพยพเดินทางมาจากเมืองทุละคม แขวงเวียงจันทน์ ตัดสินใจสร้างบ้านแปงเมืองอยู่บริเวณ “บึงบอน” (บึงแก่นนครในปัจจุบัน) ด้วยมองเห็นว่าพื้นที่แห่งนี้มีน้ำดี มีพืชพรรณธรรมชาติอุดมสมบูรณ์ มีพื้นที่ลุ่มใช้ทำนาปลูกข้าว และ สามารถตั้งบ้านเรือนบนเนินหรือโนนได้ (ลักษณะสำคัญในการตั้งหมู่บ้านของอีสาน คือ นา น้ำ โนน) ทำให้ชาวบ้านบึงบอนนี้สามารถดำรงชีพและหาอยู่หากินอยู่ได้อย่างยั่งยืน กระทั่งต่อมาได้รับหนังสือ โปรดเกล้าฯ จากรัชกาลที่ 1 ให้ยกฐานะขึ้นเป็น “เมืองขอนแก่น” เมื่อปี พ.ศ.2340 และตั้งให้ เพียเมืองแพน เป็นเจ้าเมืองคนแรกของเมืองขอนแก่น มีตำแหน่งเป็น “พระนครศรีบริรักษ์” (รายละเอียดเพิ่มเติม อนุสาวรีย์พระนครศรีบริรักษ์  ที่นี่)

อนุสาวรีย์พระนครศรีบริรักษ์
อนุสาวรีย์พระนครศรีบริรักษ์

อย่างไรก็ตาม ในเวลาต่อมาเมืองขอนแก่นมีการย้ายที่ทำการอยู่หลายครั้งจากอุปสรรคต่างๆ แต่ก็อาจตั้งข้อสังเกตว่า ชาวเมืองอาจไม่ได้ห่างหายไปจากบริเวณบึงแก่นนครเสียทั้งหมด จากบันทึก การเดินทางของ“เอเตียน แอมอนิเยร์” (Etienne Aymonier) ชาวฝรั่งเศส เดินทางมาถึงเมืองขอนแก่น เมื่อวันที่ 27 เดือนกุมภาพันธ์ ปี พ.ศ.2427 บรรยายว่า มองเห็นทุ่งนากว้าง มีบ้านเรือนสร้างจากไม้ไผ่ ตั้งอยู่กระจายห่างๆ กัน ประมาณ 200 หลังคาเรือน ทางด้านทิศตะวันออกของเมืองมีแหล่งน้ำกินน้ำใช้คือ บึง หรือ อ่างเก็บน้ำ(reservoir) ซึ่งคล้ายกับการตั้งถิ่นฐานของผู้คนในยุคเริ่มแรก ในขณะที่ช่วงปีดังกล่าวมีผู้สันนิษฐานว่าฝ่ายเมืองเดิมย้ายไปตั้งเมืองอยู่บ้านทุ่ม (มีประมาณ 20 หลังคาเรือนในขณะนั้น) ขณะที่อีกฝ่ายย้ายไปตั้งเมืองอยู่ที่บ้านดอนบม ข้างลำน้ำชี

แผนที่อดีต ขอนแก่น เอเตียน บึงแก่นนคร
แผนที่การเดินทางของ Etienne Aymonier เอเตียน แอมอนิเยร์ ปี 1883-1884 ที่น่าสนใจ ปรากฏว่ามีการเรียกภูเขาเป็นชื่อเดียวกับเมืองขอนแก่นในเวลานั้นด้วย (หนังสือ Isan Travels Northeast Thailand’s Economy in 1883-1884 by Walter E. J., 2000 เล่มนี้มีที่ศูนย์วิทยบริการ มหาวิทยาลัยขอนแก่น แปลจาก ภาษาฝรั่งเศส)

ปัจจุบันเมืองขอนแก่นมีการพัฒนาในหลายมิติมากขึ้น บึงบอนหรือบึงแก่นนครแห่งนี้ ไม่เป็นแต่เพียงพื้นที่รองรับน้ำตามธรรมชาติ หากแต่ยังเป็นสถานที่พักผ่อนหย่อนใจ เป็นพื้นที่สวนสาธารณะที่สร้างอากาศดีให้กับเมืองขอนแก่น บริเวณโดยรอบมีสถาปัตยกรรมที่โดดเด่น และมีปูนปั้น จิตรกรรมและศิลปกรรมท้องถิ่น ที่สะท้อนบอกเล่าเรื่องราวประวัติศาสตร์การหาอยู่หากินของผู้คนในพื้นที่บริเวณบึงแก่นนครที่มีมาอย่างยาวนาน ด้วยความภาคภูมิใจ และดำรงไว้ซึ่งคุณค่าแห่งปัญญาที่มาจากหลักปรัชญาธรรมะและคติชนของคนท้องถิ่นที่จะช่วยให้แนวทางการแก้ไขปัญหาชีวิต สามารถผ่านพ้นอุปสรรคต่างๆ ได้อย่างราบรื่น นอกจากนี้ยังมีสถานที่สำคัญอื่นๆ ที่มาจากความสัมพันธ์อันดีระหว่างประเทศ อันปรากฏให้เห็นเป็นแหล่งศึกษาเรียนรู้ทางวัฒนธรรมที่ตั้งอยู่บริเวณบึงแก่นนครร่วมด้วย

 

วัดหนองแวง พระอารามหลวง

วัดหนองแวง พระมหาธาตุแก่นนคร แผนที่ บึงแก่นนคร ขอนแก่น วัด สถานที่ศักดิ์สิทธิ์รอบบึงแก่นนคร
พระมหาธาตุแก่นนคร อนุสรณ์สาธุชน

สร้างโดย เพียเมืองแพน เจ้าเมืองคนแรกของขอนแก่น มีสิ่งสำคัญภายในวัดคือ “พระมหาธาตุแก่นนคร อนุสรณ์สาธุชน” ซึ่ง พระธรรมวิสุทธาจารย์ (คูณ ขันติโก ป.ธ.4) เป็นผู้ริเริ่มการสร้าง เพื่อเทิดพระเกียรติครองราชย์ 50 ปี รัชกาลที่ 9 และครบ 200 ปี เมืองขอนแก่น เริ่มสร้าง 7 ตุลาคม พ.ศ.2533 ใช้เวลาสร้างเสร็จประมาณ 10 ปี พระมหาธาตุมีทั้งหมด 9 ชั้น ฐานกว้าง 50 x 50 เมตร ความสูงถึงยอดฉัตร 80 เมตร มีพระจุลธาตุ 4 องค์ ตั้งอยู่ 4 มุม มีกำแพงแก้วพญานาค 7 เศียร ศิลปะสมัยทวารวดี หรือเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ผสมผสานกับศิลปะอินโดจีน รูปทรงแบบอีสานตากแห รายละเอียดเพิ่มเติมสามารถติดตามได้ ดังนี้

 

Wat Nong Wang

You don’t know Khon Kaen if you haven’t visited Wat Nong Wang. At the heart of the province’s top temple is Phra Mahathat Kaen Nakhon, a beautiful modern eighty-meter-tall, nine-story stupa like none other in Thailand. Built to celebrate fifty years of King Rama 9’s reign and two hundred years of Khon Kaen being a city, it has many interesting things to see inside including murals of the Sin Sai and Nang Pom Hom folktales, historical artifacts, and a top-floor viewpoint. (Read more about Wat Non Wang here.)

 

แผนที่ บึงแก่นนคร ขอนแก่น วัด สถานที่ศักดิ์สิทธิ์รอบบึงแก่นนคร พระมหาธาตุแก่นนคร วัดหนองแวง พระอารามหลวง

ดาวน์โหลด ภาพประกอบคำอธิบายพระมหาธาตุแก่นนครแต่ละชั้น ที่นี่

วัดกลาง

วัดกลาง บึงแก่นนคร ขอนแก่น
วัดกลาง

วัดกลาง เป็นวัดเล็กๆ ที่มีความสงบ สร้างขึ้นพร้อมกับเมืองขอนแก่นโดยพระนครศรีบริรักษ์ บรมราชภักดี หรือเพียเมืองแพน เจ้าเมืองคนแรก ภายในวัดมีสิ่งสำคัญ คือ พระอุโบสถสวยงาม สร้างเมื่อปี พ.ศ.2510 และ “พระมหาธาตุราช มัชฌิมาเฉลิมพระเกียรติ”(พระมหาธาตุสองแผ่นดิน) (รายละเอียดเพิ่มเติม ที่นี่)

 

Wat Klang

A small quiet temple with a beautiful new nine-spired stupa finished in 2018. It’s modern, but has classic Isan inspiration.

 

ศาลเจ้าพ่อมเหศักดิ์

ศาลเจ้าปู่มเหศักดิ์หลักเมือง ขอนแก่น
ศาลเจ้าปู่มเหศักดิ์หลักเมือง ขอนแก่น

เพียเมืองแพน ได้สร้างศาลมเหศักดิ์ (เทวดาผู้ยิ่งใหญ่)ขึ้น ตั้งเป็นเสาบือบ้าน ศูนย์กลางของบ้านเมือง ตามความเชื่อของชาวอีสานในฮีตสิบสองคองสิบสี่ เป็น “สมบัติคูนเมือง” เดิมเป็นหอไม้หลายหลัง ต่อมาปี พ.ศ.2536 ได้มีการปรับปรุงสร้างใหม่ เป็นรูปทรงปราสาทขอม โดยประดิษฐานรูปปั้นพระอินทร์ประทับนั่งถือดาบอยู่ภายใน ส่วนด้านหลังของปราสาทจะมีหอเทวดา ทำจากไม้มงคลทั้งหมด 7 หลัง (รายละเอียดเพิ่มเติม ที่นี่)

ศาลเจ้าปู่มเหศักดิ์หลักเมือง ริมบึงแก่นนคร ขอนแก่น
หอไม้มงคล 7 หลัง

Mahesak Shrine

Dedicated to the god Indra, this is a historic location in the old part of the city, but today the shrine has a very interesting nuevo-Khmer design built in 1993. Some of the older wooden spirit houses are in the back. (Read more about Mahesak Shrine here.)

 

วัดธาตุ พระอารามหลวง

วัดธาตุ พระอารามหลวง บึงแก่นนคร ขอนแก่น
วัดธาตุ พระอารามหลวง ริมบึงแก่นนคร ขอนแก่น

วัดธาตุ พระอารามหลวงแห่งแรกของเมืองขอนแก่น สร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ.2332 พร้อมกับการก่อตั้งเมืองขอนแก่นโดยเจ้าเมืองคนแรก ตามธรรมเนียมการตั้งบ้าน จะสร้างวัดร่วมด้วย เมืองขอนแก่นได้ สร้าง 4 วัด โดยใช้การเรียกตามสายน้ำเป็นทิศ ได้แก่ วัดเหนือ (วัดหนองแวง) อยู่ต้นน้ำ สำหรับประชาชนทั่วไป วัดกลางอยู่กึ่งกลางระหว่างวัดเหนือกับวัดใต้ เป็นที่ทำบุญของขุนนาง ข้าราชการ วัดใต้ (วัดธาตุ) เป็นที่บำเพ็ญกุศลของเจ้าเมือง และวัดท่าแขก (วัดโพธิ์บ้านโนนทัน) สำหรับพระภิกษุอาคันตุกะจากถิ่นอื่นมาพัก สำหรับวัดธาตุในแต่ละปีมีกิจกรรมสำคัญ เช่น สวดมนต์ข้ามปี สรงน้ำเจดีย์ ฯลฯ ที่วัดธาตุเป็นที่ประดิษฐานของหลวงพ่อพระลับ พระพุทธรูปปางมารวิชัย หล่อสัมฤทธิ์ ฐานหน้าตัก กว้าง 10 นิ้ว สูง 29 นิ้ว ประทับนั่งขัดสมาธิบน แท่นสัมฤทธิ์ฐานสูง องค์พระเอนไปด้านหลังเล็กน้อย ศิลปะลาว สกุลช่างเวียงจันทน์ ราวพุทธศตวรรษที่ 22-24 เหตุที่ชื่อ “พระลับ” เนื่องจากได้มีการสร้างเจดีย์ 9 องค์ที่วัดธาตุ เพื่อปิดบังซ่อนอำพรางไม่ให้ องค์พระศรีสัตนาคนหุตถูกส่งไปยังกรุงเทพฯ ปัจจุบันเหลือเพียงเจดีย์เดียวและมีการบูรณะใหม่ โดยครอบองค์เดิมไว้ ให้ชื่อว่า “เจดีย์พระธาตุนครเดิม” (รายละเอียดเพิ่มเติมที่นี่)

Wat That

The first royal temple in Khon Kaen, Wat That, founded in 1789, once had many stupas, but they were destroyed by neglect. In 1970 people decided to build a large Central Thai-style stupa in their place. Finished in 1981, Chedi Phra That Nakhon Derm is forty-five meters tall (representing the Buddha being a Buddha for forty-five years) and surrounded by a five-sided cloister. (Read more about Wat That here.)

ศาลเจ้าปึงเถ่ากง-ม่า

ปึงเถ่ากงม่า ขอนแก่น บึงแก่นนคร
ศาลเจ้าปึงเถ่ากงม่า ขอนแก่น

เป็นศาลเจ้าจีนที่เก่าแก่ที่สุดแห่งหนึ่งของเมืองขอนแก่น ภายในประดิษฐานองค์ปึงเถ่ากง-ม่า เจ้าแม่ทับทิม และเทพเจ้าไฉ่ซิงเอี๊ย (เทพเจ้าแห่งโชคลาภ) เป็นต้น โดยมีงานสมโภชเฉลิมฉลองอย่างยิ่งใหญ่ทุกปี (ภาพศาลเจ้าปึงเถ่ากง-ม่า เพิ่มเติม ที่นี่)

ด้านฝั่งตรงข้ามศาลเจ้าปึงเถ่ากง-ม่า จะมีศูนย์วัฒนธรรมไทย-จีน ขอนแก่น-หนานหนิง ภายในมีวัตถุโบราณและของที่ระลึกจากจีนจัดแสดง ใกล้กันนั้นจะมีรูปปั้นเจ้าแม่กวนอิมขนาดใหญ่ อยู่บริเวณลานเจ้าแม่กวนอิม

 

เจ้าแม่กวนอิม บึงแก่นนคร ขอนแก่น
เจ้าแม่กวนอิม ริมบึงแก่นนคร ขอนแก่น

 

Bung Tao Gong Ma Chinese Shrine

Khon Kaen’s most prominent Chinese shrine has a classic design and hosts most of the city’s biggest Thai-Chinese festivals. Worshipped alongside Bung Tao Gong-Ma are the gods Jae Mae Taptim and Caishen. Across the road is a Chinese garden with a tall statue of Guanyin, the Goddess of Mercy, and a small museum of Chinese art and culture.

 

ศาลเจ้าปู่ญาคูเย็น

ศาลเจ้าปู่ญาคูเย็น ริมบึงแก่นนคร ขอนแก่น
ศาลเจ้าปู่ญาคูเย็น ริมบึงแก่นนคร ขอนแก่น

สมัยก่อนชาวบ้านจะเรียกว่า “ญาคูโกฎิ” ออกเสียงคล้าย “ครูโกรธ” หากใครผ่านบริเวณศาล และไม่มีความเคารพต่อศาลปู่ ก็จะเกิดอุบัติเหตุหรือเจ็บป่วย ต่อมาจึงมีการเปลี่ยนชื่อแก้เคล็ดเมื่อ ราวๆ ปี พ.ศ.2482 เปลี่ยนชื่อเป็น “เจ้าปู่ครูเย็น” ตามประวัติท่านได้บวชเรียนจนแตกฉานใน อรรถธรรมวินัยจนได้เป็น “ญาคู” (ภาษาอีสาน) หรือพระครู หลังจากนั้นท่านได้ลาสิกขาบท นุ่งขาวห่มขาว เรียก “ตาผ้าขาว” คอคล้องลูกประคำ มือถือเหล็กจาน เป็นผู้มีวิทยาอาคมทางไสยศาสตร์ ทำนายทายทักโชคชะตาได้อย่างแม่นยำ และยังเป็นหมอยาพื้นบ้าน รวมถึงเป็นผู้นำทางพิธีกรรมที่ชาวบ้านโนนทันและในจังหวัดขอนแก่นให้ความนับถือเลื่อมใสเป็นอย่างยิ่ง (รายละเอียดเพิ่มเติม ที่นี่)

 

Pu Kru Yen Shrine

This small shrine venerates a strict and critical, but highly respected monk who used to be called Pu Kru Grot. (Grot means angry in Thai, so Yen was added later to soften his image.) He was renown for his fortunetelling ability and herbal medicine knowledge.

 

วัดโพธิ์บ้านโนนทัน

วัดโพธิ์บ้านโนนทัน ริมบึงแก่นนคร ขอนแก่น
วัดโพธิ์บ้านโนนทัน ริมบึงแก่นนคร ขอนแก่น
ลำเตี้ย วัดโพธิ์บ้านโนนทัน
ภาพปูนปั้น บริเวณอาคารโพธิสารคุณ

เดิมชื่อ วัดแขก หรือ วัดท่าแขก จากหลักฐานกรุวัดแตกและพบโบราณวัตถุเป็นพระพิมพ์ดินเผาอยู่มากมาย ทำให้ สันนิษฐานว่าวัดได้มีการบูรณะปี พ.ศ.2332 ในสมัยแรกเริ่มก่อตั้งเมืองขอนแก่น เดิมบริเวณวัดอยู่ใกล้ทุ่งนาและที่ลุ่ม ทำให้มีต้นไม้ใหญ่อยู่หลายต้น มีความร่มรื่นมาก สามารถมาเรียนฝึกวิปัสสนาที่นี่ได้ และมีสิ่งน่าสนใจ คือ “อาคารโพธิสารคุณ” สร้างปี พ.ศ.2514 ออกแบบคล้ายถ้ำที่ซ่อนตัวอยู่ในป่า มีภาพวาดและ รูปปั้นวิถีโบราณ สุภาษิต คำสอนพุทธศาสนา ภาพประวัติศาสตร์ และเรื่องเล่าของผู้เป็นต้นคิดอาคารแห่งนี้ คือ หลวงปู่โพธิ์ ฝีมือการปั้นโดย ครูธรรมรงค์ แก้วโบราณ นอกจากนี้ยังมีฟอสซิลไดโนเสาร์ พิพิธภัณฑ์ท้องถิ่น และอาศรมให้บริการนวดแผนไทย

รายละเอียดเพิ่มเติม วัดโพธิ์โนนทัน เมืองขอนแก่น จังหวัดขอนแก่น (Wat Pho Ban Nontan, Muang Khon Kaen): ประวัติศาสตร์และการท่องเที่ยวริมบึงแก่นนคร เมืองขอนแก่น ที่นี่

รายละเอียดเพิ่มเติม ศิลปะโดยรอบอาคารโพธิสารคุณหรือศาลาโพธิสาร 72 (สามารถดาวน์โหลดรูปแบบหนังสือเพื่อพิมพ์ได้)

 

Wat Pho Ban Nontan

Predating Khon Kaen city, Wat Pho Ban Nontan used to be in a forest and is today a respected meditation center. The Photisankhun Meditation Hall features creative relief sculptures of proverbs, Buddhist teachings, and forest creatures. There is also a small historical museum and a collection of dinosaur fossils. (Read more about Wat Pho Ban Nontan here.)

อาคารประติมากรรมวัดเสาเดียว

วัดเสาเดียว ริมบึงแก่นนคร ขอนแก่น
อาคารประติมากรรมวัดเสาเดียว ขอนแก่น

อาคารประติมากรรมวัดเสาเดียว ขอนแก่น จำลองสร้างจาก วัดเสาเดียว กรุงฮานอย เวียดนาม ซึ่งเป็นสถาปัตยกรรมโดดเด่นของเอเชียจากกินเนสส์บุ๊ค

อาคารประติมากรรมวัดเสาเดียว ขอนแก่น สร้างในปี พ.ศ.2551 เกิดขึ้นจากความร่วมมือของเทศบาลนครขอนแก่น กงสุลใหญ่สาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม และชาวไทยที่มีเชื้อสายเวียดนาม โดยสร้างขึ้นเพื่อแสดงถึงความสัมพันธ์อันดีระหว่างสองประเทศ เพื่อถวายพุทธบูชาและแสดงความเคารพต่อบรรพบุรุษ ภายในวัดเสาเดียวเป็นที่ประดิษฐานขององค์พระโพธิสัตว์กวนอิม ซึ่งอัญเชิญมาจากกรุงฮานอย และแผ่นศิลาฤกษ์มงคลในการก่อสร้าง (รายละเอียดเพิ่มเติม ที่นี่)

วัดเสาเดียว ริมบึงแก่นนคร ขอนแก่น
วัดเสาเดียว ขอนแก่น

One Pillar Pagoda

A replica of the beloved original in Hanoi, Vietnam, Khon Kaen’s One Pillar Pagoda was built in 2009 by the city’s sizable Vietnamese population to honor their roots. It has a Guanyin statue inside.

 

ศาลเจ้าแม่สองนาง

ศาลเจ้าแม่สองนาง ริมบึงแก่นนคร ขอนแก่น
ศาลเจ้าแม่สองนาง ริมบึงแก่นนคร ขอนแก่น

ตั้งอยู่บนเนินไม่ไกลจากสะพานข้ามบึงแก่นนคร เดิมเป็นศาลไม้สองหลัง ปัจจุบันสร้างเป็นเรือนคอนกรีตอย่างเรือนไทยภาคกลาง มีหน้าจั่วลูกฟักแบ่งแนวนอนและแนวตั้งสลับกัน มีหลังคากันสาด โดยประวัติของเจ้าแม่สองนางหรือเจ้าแม่ศรีสองนาง คือ ย่าคำหมื่นและย่าคำแสน มาจากเวียงจันทร์ พาบริวารมาขออยู่อาศัยกับเพียเมืองแพน ผู้ก่อตั้งเมืองขอนแก่น ผู้เป็นน้า ภายหลังสิ้นชีวิต ผู้คนทั่วไปได้ให้ความเคารพตั้งศาลขึ้นเพื่อสักการบูชา โดยยังคงมีจ้ำหรือผู้นำพิธีกรรม คนบ้านตูมเป็นผู้ดูแลรักษา พิธีกรรมไหว้เจ้าแม่สองนางจัดขึ้นช่วงเดือนเมษายนทุกปี มีการทำบุญตักบาตรและมีการรำบวงสรวง (รายละเอียดประวัติเจ้าแม่สองนาง ริมบึงแก่นนคร ที่นี่)

 

Jao Mae Song Nang Shrine

On a little hill next to the lake’s pedestrian bridge, this small shrine honors Jao Mae Kammun and Jao Mae Kamsaen, two women who were so respected in life they became guardian spirits after death.

 

สถานที่อื่นๆ รอบบึงที่น่าสนใจ เพิ่มเติม

วัดศรีธาตุ

วัดศรีธาตุ บึงแก่นนคร ขอนแก่น ประวัติ

 

….

บทความโดย: สุทธวรรณ บีเวอ Isaninight.com

ภาพถ่าย: สุทธวรรณ บีเวอ Isaninsight.com และทิม บีเวอ Timsthailand.com

ขอขอบคุณ “โครงการรางสร้างเมือง-รางสร้างไทย การพัฒนารูปแบบการดำเนินธุรกิจโดยการพัฒนาขนส่งระบบราง: กรณีศึกษาการพัฒนาพื้นที่รอบบึงแก่นนคร จังหวัดขอนแก่น” ที่ให้ทุนเพื่อจัดทำแผนที่ท่องเที่ยวสถานที่ศักดิ์สิทธิ์รอบบึงแก่นนคร จังหวัดขอนแก่น

ขอขอบคุณ   ข้อมูลภาคภาษาอังกฤษ โดย ทิม บีเวอ www.Timsthailand.com

สามารถติดตามเรื่องราวสถานที่นี่น่าสนใจของภาคอีสาน ในภาคภาษาอังกฤษได้ที่ www.Timsthailand.com

ภาพวาดประกอบแผนที่โดย สุทธวรรณ บีเวอ จุกบางแกลเลอรี

*หากต้องการไฟล์ภาพขนาดใหญ่เพื่อการประดับตกแต่งสถานที่ สามารถติดต่อได้ที่ สุทธวรรณ บีเวอ (กุ๊กไก่) จุกบาง แกลเลอรี 084-5143539

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *