วัดโพธิ์บ้านโนนทัน เมืองขอนแก่น จังหวัดขอนแก่น (Wat Pho Ban Nontan, Muang Khon Kaen): ประวัติศาสตร์และการท่องเที่ยวริมบึงแก่นนคร เมืองขอนแก่น

วัดโพธิ์บ้านโนนทัน เมืองขอนแก่น จังหวัดขอนแก่น (Wat Pho Ban Nontan, Muang Khon Kaen): ประวัติศาสตร์และการท่องเที่ยวริมบึงแก่นนคร เมืองขอนแก่น

เรียบเรียงข้อมูลและภาพโดย สุทธวรรณ บีเวอ

วัดโพธิ์บ้านโนนทัน เดิมชื่อ วัดท่าแขก ตั้งอยู่ด้านทิศตะวันออกของ บึงบอน หรือ บึงแก่นนคร ในปัจจุบัน ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา เมื่อวันที่ 26 เดือน มีนาคม พ.ศ.2513 ถือเป็นหนึ่งในสี่วัดสำคัญคู่บ้านคู่เมืองของชาวขอนแก่น ที่มีมาตั้งแต่ตั้งเมืองขอนแก่น..

(สำหรับสี่วัดสำคัญนั้นมี วัดเหนือ คือ วัดหนองแวง เป็นที่สำหรับประชาชนทั่วไป วัดกลาง เป็นที่ทำบุญของขุนนาง ข้าราชการ และวัดใต้ คือ วัดธาตุ เป็นสถานที่บำเพ็ญกุศลของเจ้าเมือง สำหรับวัดท่าแขกนี้เป็นวัดสำหรับคนหรือพระอาคันตุกะจากต่างถิ่นเข้ามาพักอยู่อาศัยหรือทำบุญ  อีกนัยหนึ่งก็คือเป็น “วัดป่า” การกำหนดชื่อวัดสมัยก่อนตามสายน้ำเป็นหลัก โดยสายน้ำที่ไหลผ่านเมืองขอนแก่นไหลมาจากทิศใต้ลงไปทางบึงทุ่งสร้าง การเรียกวัดจึงไม่ได้เรียกตามทิศ )

(สามารถดาวน์โหลดเอกสารฉบับเต็ม ประวัติวัดโพธิ์และประวัติหลวงปู่พระครูโพธิสารคุุณได้ที่นี่)

วัดโพธิ์บ้านโนนทัน ริมบึงแก่นนคร เมืองขอนแก่น ขอนแก่น สถานที่ท่องเที่ยวเมืองขอนแก่น
บริเวณวัดโพธิ์บ้านโนนทัน (แผนที่แรกสมัยยังไม่มีบ้านเรือนประชาชนมาก ส่วนใหญ่เป็นต้นไม้ แผนที่ 2 เป็นปี พ.ศ.2498) เดิมเรียก วัดท่าแขก (ซึ่งชื่อ วัดท่าแขก นี้ยังปรากฏอยู่ในกลูเกิลแมป เป็นวัดร้าง สันนิษฐานว่าอาจจะเป็นพื้นที่เดียวกันมาก่อน อยู่ด้านหลังศาลเจ้าปู่ญาคูเย็น ปัจจุบันเป็นบ้านเรือนประชาชน และบริเวณวัดร้างดังกล่าวเหลือเพียงส่วนของศาลาและบ่อน้ำเท่านั้น อย่างไรก็ตามในเอกสารของหนังสือพระธรรมวิสุทธาจารย์(คูณ ขนฺติโก ป.ธ.4 มีกล่าวถึงว่าได้มีการย้ายจากบ้านโนนทอง มาตั้งที่บ้านโนนทัน ในสมัยเจ้าเมืองคนที่ 3 คือ ท้าวอินทร์ และได้สร้างวัดสองวัด คือ วัดท่าแขกและวัดโพธิ์ ดังมีการพระราชทานเพลิงศพท่านอยู่ทุ่งทิศเหนือของหมู่บ้าน เรียกท่านว่า “เจ้าศพทุ่ง”
วัดท่าแขก (ปัจจุบันเป็นวัดร้าง)

วัดโพธิ์นี้มีโบราณสถาน คือ มีโบสถ์เก่าที่กรมศิลปากรประเมินอายุประมาณ 300 ปี โดยเป็นโบสถ์ขนาดเล็ก ก่อด้วยอิฐโบราณขนาดใหญ่ ชาวบ้าน เรียกว่า สิมมหาอุด เจาะผาผนังเป็นหน้าต่างขนาดเล็ก (ภาษาอีสานเรียกว่า ป่องเอี้ยม) ซึ่งมีความชำรุดทรุดโทรมตามกาลเวลา

วัดโพธิ์บ้านโนนทัน ริมบึงแก่นนคร เมืองขอนแก่น ขอนแก่น สถานที่ท่องเที่ยวเมืองขอนแก่น
ลักษณะโบสถ์เก่าหรืออีสานเราจะเรียกว่า “สิม” ของวัดโพธิ์บ้านโนนทัน โดยในสมัยหลวงปู่โพธิ์หรือพระครูโพธิสารคุณ อดีตเจ้าอาวาสวัดโพธิ์ เป็นผู้นำการบูรณะ (ภาพจาก วัดโพธิ์บ้านโนนทัน)
วัดโพธิ์บ้านโนนทัน ริมบึงแก่นนคร เมืองขอนแก่น ขอนแก่น สถานที่ท่องเที่ยวเมืองขอนแก่น
ภาพสิมหรือโบสถ์ด้านหลัง ก่ออิฐส่วนฐาน ถึงผนังโบสถ์ ลักษณะเป็นสิมมหาอุด คือไม่มีประตูด้านหลัง ได้ทำการบูรณะโดยฉาบผนังทับอิฐโบราณ ด้านใต้หลังคาเป็นไม้ (ภาพจาก วัดโพธิ์บ้านโนนทัน)

ต่อมาในสมัยที่พระครูโพธิสารคุณ อดีตเจ้าอาวาสวัดโพธิ์ จึงได้ร่วมกับชาวบ้านบูรณะปฏิสังขรณ์ใหม่ โดยเปลี่ยนโครงสร้างหลังคาและฉาบปูนทับอิฐโบราณ เพื่อให้เกิดความมั่นคงถาวรยิ่งขึ้น ต่อมา พ.ศ. 2517 ได้สร้างหลวงพ่อสังกัจจายน์ไว้หน้าโบสถ์ 2 องค์ ซึ่งเป็นศิลปะแบบจีนและศิลปะแบบไทย เป็นพระศักดิ์สิทธิ์อันเป็นที่เคารพสักการะของประชาชนทั่วไป

วัดโพธิ์บ้านโนนทัน ริมบึงแก่นนคร เมืองขอนแก่น ขอนแก่น สถานที่ท่องเที่ยวเมืองขอนแก่น
ด้านหน้าโบสถ์เก่าหรือสิมมหาอุดโบราณในปัจจุบัน (อยู่บริเวณที่ศาลาฉันท์เของวัด) เหตุที่สร้างเป็นหลวงพ่อสังกัจจายน์ ศิลปะจีน เพราะช่วงเวลานั้น ชาวไทยเชื้อสายจีนเริ่มเข้ามาอยู่อาศัยในจังหวัดขอนแก่นมากขึ้น
อุโบสถเก่า วัดโพธิ์บ้านโนนทัน ขอนแก่น เมืองขอนแก่น สถานที่ท่องเที่ยว เมืองขอนแก่น
ภายในสิม มีพระพุทธรูปโบราณ เป็นพระพุทธรูปแบบหล่อโลหะ และมีพระพุทธรูปโบราณแกะสลักด้วยไม้
วัดโพธิ์บ้านโนนทัน เมืองขอนแก่น เที่ยว บึงแก่นนครขอนแกน่
พระประธาน ภายในสิมโบราณ มีจารึกอักษรไทน้อยด้านล่าง
วัดโพธิ์บ้านโนนทัน เมืองขอนแก่น เที่ยว บึงแก่นนครขอนแกน่
พระบรมสาริกธาตุ
วัดโพธิ์บ้านโนนทัน ริมบึงแก่นนคร เมืองขอนแก่น ขอนแก่น สถานที่ท่องเที่ยวเมืองขอนแก่น
ด้านหลัง สิมโบราณในปัจจุบัน

พระครูโพธิสารคุณกล่าวว่า โบสถ์หลังเล็กนี้เป็นหัวใจของชาวบ้านโนนทัน เพราะสร้างขึ้นบนเนินต้นพุทรา ชาวบ้านเรียกว่า โพนมะทัน (ชาวอีสานเรียก เนิน ว่า โพน หรือ โนน เรียก ต้นพุทรา ว่า ต้นมะทัน) ต่อมาจึงเรียก หมู่บ้านโนนทัน (ส่วนชื่อวัดโพธิ์ในปัจจุบันนั้น มาจากมีต้นโพธิ์เป็นจำนวนมาก) โดยในสมัยโบราณมีเนินขนาดใหญ่ที่สูงสุดในบริเวณที่ตั้งของบ้านโนนทัน บนยอดเนินมีต้นพุทราขนาดใหญ่ จึงได้ร่วมกันสร้างวัดขึ้นในบริเวณนี้ เมื่อจะสร้างโบสถ์จึงเลือกเอาเนินต้นพุทราเป็นที่ก่อสร้าง โดยชาวบ้านร่วมกันปรับพื้นเนินให้ต่ำลงเพื่อให้ฐานโบสถ์เกิดความมั่นคงแข็งแรง ซึ่งพระเถระที่นำชาวบ้านสร้างวัดชื่อว่า “พระสังฆราชฉิมพลี” เป็นพระมหาเถระที่ได้รับความเคารพนับถือจากชาวเมืองและคณะสงฆ์ในสมัยนั้น จึงพร้อมใจกันยกย่องท่านเป็นพระสังฆราช (ไม่ใช่ตำแหน่งทางการปกครองคณะสงฆ์เหมือนในปัจจุบัน) ต่อมาชาวบ้านได้ใช้นามของท่านมาเป็นชื่อถนนฉิมพลี (ถนนสายหลังวัดโพธิ์) เมื่อสร้างเสร็จแล้วก็ได้ร่วมกันหล่อพระพุทธรูปเนื้อทองสัมฤทธิ์ หน้าตัก 23 นิ้ว สูง 43 นิ้ว ประดิษฐานไว้ภายใน โดยเป็นพระพุทธรูปศิลปะแบบลาว องค์พระกับฐานเป็นคนละส่วนกัน มีพุทธลักษณะที่งดงามอย่างยิ่ง บนฐานจารึกอักษรเป็นภาษาไทน้อย เป็นพระพุทธรูปเก่าแก่คู่บ้านโนนทันมาอย่างยาวนาน นอกจากพระประธานแล้วยังมีพระพุทธรูปเก่าแก่ประดิษฐานไว้ภายในโบสถ์จำนวนมาก มีทั้งเนื้อโลหะ เนื้อไม้ และเนื้อว่าน (นำว่านมาปั้นเป็นพระพุทธรูป) โดยปัจจุบันกรมศิลปากรได้ขึ้นทะเบียนเป็นโบราณวัตถุเรียบร้อยแล้ว

ต่อมาเมื่อมีพระภิกษุ สามเณรจำนวนมากขึ้น ทำให้พื้นที่ทำสังฆกรรมคับแคบลง พระครูโพธิสารคุณจึงได้สร้างโบสถ์หลังใหม่ขึ้น เป็นโบสถ์ 2 ชั้น ที่ใช้ทำสังฆกรรมในปัจจุบัน จากนั้นได้บูรณะโบสถ์หลังเก่าขึ้น และใช้เป็นที่ปฏิบัติธรรมเฉพาะของพระครูโพธิสารคุณในช่วงเวลานั้น เนื่องจากภายในประดิษฐานพระพุทธรูปเก่าแก่จำนวนมาก และเคยมีมิจฉาชีพมาลักขโมยพระพุทธรูป ท่านจึงให้ใส่กุญแจไว้อย่างแน่นหนา และเปิดเฉพาะวันสำคัญทางพระพุทธศาสนาเท่านั้น ต่อมาในสมัยของพระครูภาวนาโพธิคุณ (ดร. สมชาย กันตสีโล/พังหมื่นไว) เจ้าอาวาสรูปปัจจุบัน จึงได้บูรณะขึ้นอีกครั้ง (ข้อมูลจากวัดโพธิ์บ้านโนนทัน) 

สิ่งที่น่าสนใจภายในวัดโพธิ์บ้านโนนทัน

1. โบสถ์สองชั้น วัดโพธิ์บ้านโนนทัน

มีลักษณะพิเศษเป็นโบสถ์ 2 ชั้น ศิลปะทรงไทยประยุกต์ โดยหลวงปู่โพธิสารคุณเป็นประธานดำเนินการก่อสร้างเมื่อ ปี พ.ศ.2511

บริเวณชั้นบนของโบสถ์

บริเวณชั้นบนจะเป็นที่ปฏิบัติธรรม โดยองค์พระประธานบรรจุมวลสาร ประกอบด้วย เศษอิฐจากพระธาตุขามแก่น และพระธาตุพนมก่อนที่จะบูรณะ มีพระบรมสารีริกธาตุที่นำมาจาก 4 ประเทศ ได้แก่ อินเดีย พม่า ศรีลังกา ไทย มาจัดแสดงอยู่ในตู้กระจก มีพระธาตุพระอรหันต์และพระสาวก นอกจากนี้ยังมีจัดแสดงกระดูกไดโนเสาร์ภูเวียงมาจากญาติโยมนำมาถวายหลวงปู่โพธิ์ ซึ่งบางส่วนท่านนำมาทำพระเครื่อง และเหลือให้ลูกหลานไว้ดู และยังมีโครงกระดูกคาดว่ามีอายุใกล้เคียงกับบ้านเชียงประมาณ 3,000 ปี

วัดโพธิ์บ้านโนนทัน ริมบึงแก่นนคน ขอนแก่น ท่องเที่ยวเมืองขอนแก่น

วัดโพธิ์บ้านโนนทัน ริมบึงแก่นนคร เมืองขอนแก่น ขอนแก่น สถานที่ท่องเที่ยวเมืองขอนแก่น
หลวงปู่โพธิ์ หรือ พระครูโพธิสารคุณ รูปปั้นหล่อบริเวณชั้นบนทางเข้าประตูโบสถ์
วัดโพธิ์บ้านโนนทัน ริมบึงแก่นนคร เมืองขอนแก่น ขอนแก่น สถานที่ท่องเที่ยวเมืองขอนแก่น
ภายในโบสถ์
วัดโพธิ์บ้านโนนทัน ริมบึงแก่นนคร เมืองขอนแก่น ขอนแก่น สถานที่ท่องเที่ยวเมืองขอนแก่น
พระบรมสารีริกธาตุที่นำมาจาก 4 ประเทศ
วัดโพธิ์บ้านโนนทัน ริมบึงแก่นนคร เมืองขอนแก่น ขอนแก่น สถานที่ท่องเที่ยวเมืองขอนแก่น
ฟอสซิลไดโนเสาร์ และโบราณวัตถุอื่นๆ

บริเวณชั้นล่างของโบสถ์

วัดโพธิ์บ้านโนนทัน ริมบึงแก่นนคร เมืองขอนแก่น ขอนแก่น สถานที่ท่องเที่ยวเมืองขอนแก่น
พระประธานบริเวณชั้นล่างของโบสถ์
วัดโพธิ์บ้านโนนทัน ริมบึงแก่นนคร เมืองขอนแก่น ขอนแก่น สถานที่ท่องเที่ยวเมืองขอนแก่น
ภาพพระเวสสันดรชาดกในชั้นล่างของโบสถ์

พิพิธภัณฑ์ วัดโพธิ์ บริเวณชั้นล่างของโบสถ์

วัดโพธิ์บ้านโนนทัน ริมบึงแก่นนคร เมืองขอนแก่น ขอนแก่น สถานที่ท่องเที่ยวเมืองขอนแก่น
พิพิธภัณฑ์ทางเข้าอยู่ทางด้านทิศตะวันออก ติดกับทางเดินขึ้นชั้นบนของโบสถ์
วัดโพธิ์บ้านโนนทัน ริมบึงแก่นนคร เมืองขอนแก่น ขอนแก่น สถานที่ท่องเที่ยวเมืองขอนแก่น
โบราณวัตถุที่ขุดค้นพบ ณ บริเวณสร้างโบสถ์ วันที่ 8 กุมภาพันธ์ 2511 โดยกรมศิลปากร
วัดโพธิ์บ้านโนนทัน ริมบึงแก่นนคร เมืองขอนแก่น ขอนแก่น สถานที่ท่องเที่ยวเมืองขอนแก่น
ภายในห้องพิพิธภัณฑ์ นอกจากจะมีโบราณวัตถุที่ขุดค้นพบที่วัด ยังมีการจัดแสดงเงินโบราณ พระเครื่องสมัยหลวงปู่โพธิ์ และของเก่าตามวิถีชุมชนดั้งเดิมของเมืองขอนแก่นร่วมด้วย
วัดโพธิ์บ้านโนนทัน ริมบึงแก่นนคร เมืองขอนแก่น ขอนแก่น สถานที่ท่องเที่ยวเมืองขอนแก่น
กระดูกช้าง

2.ศาลาโพธิสาร 72 หรือ อาคารโพธิสารคุณ

สร้างขึ้นในปี พ.ศ.2514 ตัวอาคารได้ถูกออกแบบให้เหมือนถ้ำที่ซ่อนตัวอยู่ในป่า ท่ามกลางดงป่านั้นได้มีภาพวาดและรูปปั้นซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของบทเรียนจากคนรุ่นก่อนไปยังคนรุ่นใหม่ ทั้ง วิถีแบบโบราณ สุภาษิต คำสอนพุทธศาสนา ภาพประวัติศาสตร์ และเพิ่มสีสันธรรมชาติผนวกเอาความสนุกสนานจากภาพวาดและรูปปูนปั้นที่ปรากฏ นอกจากนี้ยังมีภาพวาด ที่ปรากฏเรื่องเล่าของผู้เป็นต้นคิดอาคารแห่งนี้ คือ หลวงปู่โพธิ์ (หลวงปู่พระครูโพธิสารคุณ) พระอาจารย์สายวิปัสสนากรรมฐาน ผู้ซึ่งได้รับความเคารพจากศิษยานุศิษย์เป็นจำนวนมาก ทำให้อาคารแห่งนี้มีชื่อเรียกว่า ศาลาโพธิสาร 72 โดย 72 เป็นอายุของหลวงปู่ตอนที่ท่านมรณภาพ ปัจจุบันร่างของท่านได้บรรจุอยู่ที่ฐานของพระพุทธรูปใหญ่ชั้นล่างของอาคารแห่งนี้ (หากสนใจ ศิลปะโดยรอบอาคารโพธิสารคุณ วัดโพธิ์บ้านโนนทัน อ.เมือง จ.ขอนแก่น ชั้น 1 รายละเอียดเพิ่มเติม ที่นี่)

อาคารโพธิสารคุณ ศาลาโพธิสาร 72 หลวงปู่โพธิ์ วัดโพธิ์บ้านโนนทัน ริมบึงแก่นนคร เมืองขอนแก่น ขอนแก่น สถานที่ท่องเที่ยวเมืองขอนแก่น
อาคารโพธิสารคุณ หรือ ศาลาโพธิสาร 72
วัดโพธิ์บ้านโนนทัน ริมบึงแก่นนคร เมืองขอนแก่น ขอนแก่น สถานที่ท่องเที่ยวเมืองขอนแก่น
พระประธานชั้นล่างของศาลาโพธิสาร 72
วัดโพธิ์บ้านโนนทัน ริมบึงแก่นนคร เมืองขอนแก่น ขอนแก่น สถานที่ท่องเที่ยวเมืองขอนแก่น
ภาพปูนปั้นวิถีชีวิตอีสาน และผญาต่างๆ รอบศาลา
วัดโพธิ์บ้านโนนทัน ริมบึงแก่นนคร เมืองขอนแก่น ขอนแก่น สถานที่ท่องเที่ยวเมืองขอนแก่น
บริเวณรอบศาลาโพธิสาร 72

3. สถานที่น่าสนใจอื่นๆ ภายในวัดโพธิ์บ้านโนนทัน

วัดโพธิ์บ้านโนนทัน ริมบึงแก่นนคร เมืองขอนแก่น ขอนแก่น สถานที่ท่องเที่ยวเมืองขอนแก่น
พระธาตุมหาบารมีเจดีย์หลวงปู่โพธิ์ ขนาด 6 x 6 เมตร สูง 16.50 เมตร เพื่อบรรจุพระบรมสารีริกธาตุ และรูปเหมือนหลวงปู่โพธิ์พร้อมอัฐบริขาร

วัดโพธิ์บ้านโนนทัน ริมบึงแก่นนคร เมืองขอนแก่น ขอนแก่น สถานที่ท่องเที่ยวเมืองขอนแก่น

วัดโพธิ์บ้านโนนทัน ริมบึงแก่นนคร เมืองขอนแก่น ขอนแก่น สถานที่ท่องเที่ยวเมืองขอนแก่น

วัดโพธิ์บ้านโนนทัน ริมบึงแก่นนคร เมืองขอนแก่น ขอนแก่น สถานที่ท่องเที่ยวเมืองขอนแก่น
สังเวชนียสถาน 4 อันร่มรื่นของวัดโพธิ์บ้านโนนทัน
วัดโพธิ์บ้านโนนทัน ริมบึงแก่นนคร เมืองขอนแก่น ขอนแก่น สถานที่ท่องเที่ยวเมืองขอนแก่น
ที่พักอุบาสิกา ภาวนานุสรณ์

วัดโพธิ์บ้านโนนทัน ริมบึงแก่นนคร เมืองขอนแก่น ขอนแก่น สถานที่ท่องเที่ยวเมืองขอนแก่น

วัดโพธิ์บ้านโนนทัน ริมบึงแก่นนคร เมืองขอนแก่น ขอนแก่น สถานที่ท่องเที่ยวเมืองขอนแก่น
นวดแผนไทย ที่วัดโพธิ์บ้านโนนทัน

ปัจจุบันวัดโพธิ์บ้านโนนท้นมีเนื้อที่จำนวน 10 ไร่ 2 งาน 56 ตารางวา มีที่ธรณีสงฆ์จำนวน 23 ไร่ 4 งาน 50 ตารางวา (นอกจากนี้ยังมี ศูนย์ปฏิบัติธรรมหลวงปู่โพธิ์ ตั้งอยู่หน้าวัดศรีสว่างโนนทัน หรือจากหน้าวัดโพธิ์บ้านโนนทันตามถนนไปทิศตะวันออกอีก 1.5 กิโลเมตร) เป็นสำนักปฏิบัติธรรมแห่งแรกในจังหวัดขอนแก่น และจนถึงปัจจุบันก็ยังมีการฝึกอบรมวิปัสสนากรรมฐาน ซึ่งทางวัดได้จัดอบรมติดต่อกันมาตั้งแต่ พ.ศ. 2518 มีพระภิกษุและสามเณรที่จะเข้ามาอยู่ในสังกัดวัดโพธิ์ฝึกอบรมวิปัสสนา และทุกวันพระ ขึ้น/แรม 8 ค่ำ และ 15 ค่ำ สำหรับพุทธศาสนิกชนทั่วไปมีโครงการสวดมนต์เสริมสิริมงคลชีวิตพิชิตโรค ลานบุญ-ลานปัญญา ณ ศาลาโพธิสาร 72 ในช่วงเช้า 7.00-9.00 ทำบุญตักบาตร ฟังพระธรรมเทศนา เจริญจิตภาวนา และภาคเย็น ช่วง 18.30-21.00 ทำวัตรเย็น เจริญพระพุทธมนต์เสริมสิริมงคลชีวิต เจริญจิตภาวนา ฟังธรรม สมาทานศีล และแผ่เมตตา นอกจากนี้ยังเป็นแหล่งเรียนรู้ศิลปวัฒนธรรมร่วมด้วย.

วัดโพธิ์บ้านโนนทัน ริมบึงแก่นนคร เมืองขอนแก่น ขอนแก่น สถานที่ท่องเที่ยวเมืองขอนแก่น
ทางเข้าวัดโพธิ์บ้านโนนทัน ถนนโพธิสาร ฝั่งทิศตะวันออกเฉียงเหนือของบึงแก่นนคร

แหล่งท่องเที่ยวอื่นๆ ที่น่าสนใจโดยรอบบึงแก่นนคร จังหวัดขอนแก่น ติดตามได้ใน หัวข้อ “แหล่งท่องเที่ยวสถานที่ศักดิ์สิทธิ์รอบบึงแก่นนคร จ.ขอนแก่น: ประวัติศาสตร์การหาอยู่หากิน ปรัชญาชีวิต และพื้นที่ศักดิ์สิทธิ์ศูนย์รวมจิตใจ”

……………..

อีสานอินไซต์ขอกราบขอบพระคุณ พระธรรมนูญ กุสลธมฺโม ที่ได้เมตตาให้ความอนุเคราะห์ข้อมูลวัดโพธิ์บ้านโนนทัน จังหวัดขอนแก่น และภาพสิมโบราณ มา ณ โอกาสนี้ค่ะ

 

 

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *