Browsed by
Author: Suttawan B.

กล้วยไม้ป่าหน้าแล้ง ณ เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าภูหลวง จ.เลย

กล้วยไม้ป่าหน้าแล้ง ณ เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าภูหลวง จ.เลย

เคยได้ยินไหมว่า บนสวรรค์จะมีสวนอุทยานที่มีพันธุ์ไม้ดอกไม้ของแต่ละชั้นสวรรค์อยู่  แถวอีสานปกติยิ่งสูงคือจะเจอแต่ป่าไผ่ ป่าหวาย แต่ถ้าสูงจนได้ที่ล่ะก็.. 

ภูเขียว มียอดสูงสุด 235-1,310 เมตรเหนือระดับน้ำทะเล .. ป่าเขียวๆ ผ่านป่าไผ่ไป ก็จะมีต้นสน… Continue Reading

พัฒนาการเมล็ดข้าว: ช่วงออกดอก จนถึง เมล็ดสุก

พัฒนาการเมล็ดข้าว: ช่วงออกดอก จนถึง เมล็ดสุก

บทความนี้ เป็นส่วนหนึ่งของ ข้าว: นิทานปรัมปราและการปลูกข้าวแบบชาวบ้านเล่า ซึ่งจะนำภาพ “พัฒนาการเมล็ดข้าว” เริ่มตั้งแต่การแทงช่อดอกของต้นข้าวไปเรื่อยๆ จนถึงลักษณะของเมล็ดก่อนการเก็บเกี่ยว ภาพที่ได้มาเกิดจากการสะสมเวลาไปเที่ยวตามที่ต่างๆ และไปเฝ้าดูในไร่ที่ไม่ไกลจากตัวเมือง ดังนั้นภาพของต้นข้าวและเมล็ดข้าวที่นำเสนอ จึงไม่ใช่ภาพของต้นข้าวที่ได้มาจากแปลงเดียวกันทั้งหมด แต่มีการเรียงลำดับเวลาตามวิชาการ

Continue Reading
สารพัดพาชม ตอน “ผักตัดสด โฮมเมด” ร้านแปลงผัก ในขอนแก่น

สารพัดพาชม ตอน “ผักตัดสด โฮมเมด” ร้านแปลงผัก ในขอนแก่น

ท่ามกลางข้อจำกัดของพื้นที่ที่อยู่อาศัยในเมืองและการอยู่บ้านช่วยหมอในสถานการณ์โควิด ตอนนี้ผู้เขียนเป็นเจ้าของร้านแปลงผักตัดสดที่มีขนาดเล็กๆ ในห้องกระจกสี่เหลี่ยมของตึกสองชั้นริมถนนตรงข้ามประตู 2 โรงเรียนแก่นนครวิทยาลัย ที่ซึ่งใครก็แทบไม่อยากเชื่อว่า ผู้เขียนจะใช้พื้นที่ในอาคารมาเพาะผักขาย..

จุดเริ่มต้นของการทำร้านแบบนี้ เพราะอยากได้ผักสด เป็นคนชอบทานผัก และคิดว่าในสถานการณ์จำเป็นแบบนี้ อยากได้ผักอะไรที่โตเร็ว โตได้ในที่ร่ม … Continue Reading

พระเวสสันดรและทศชาติชาดก: ภาพแกะสลักไม้ ชั้น 7 พระมหาธาตุแก่นนคร วัดหนองแวงพระอารามหลวง

พระเวสสันดรและทศชาติชาดก: ภาพแกะสลักไม้ ชั้น 7 พระมหาธาตุแก่นนคร วัดหนองแวงพระอารามหลวง

จากภาพแกะสลักที่บานประตูและหน้าต่างที่ชั้น 7 ของพระมหาธาตุแก่นนคร วัดหนองแวงพระอารามหลวง จังหวัดขอนแก่น ได้บอกเล่าเกี่ยวกับ 10 พระชาติสุดท้ายของพระพุทธเจ้า โดยมีช่างผู้รับเหมาหลักคือ นายช่างถาวร ก่อนแก้ว กับชาวภาคเหนือ 

*หมายเหตุ
Continue Reading
ชีวประวัติของพระธรรมวิสุทธาจารย์ เจ้าอาวาสวัดหนองแวงพระอารามหลวง ณ จิตรกรรมฝาผนัง ชั้น 4 พระมหาธาตุแก่นนคร:

ชีวประวัติของพระธรรมวิสุทธาจารย์ เจ้าอาวาสวัดหนองแวงพระอารามหลวง ณ จิตรกรรมฝาผนัง ชั้น 4 พระมหาธาตุแก่นนคร:

(ภาพบน หุ่นขี้ผึ้งของพระธรรมวิสุทธาจารย์ ในพระมหาธาตุแก่นนคร ชั้น 1)

ชีวประวัติของพระธรรมวิสุทธาจารย์(หลวงพ่อคูณ ขันติโก) เจ้าอาวาสวัดหนองแวงพระอารามหลวง  ผู้ก่อตั้งการสร้างพระมหาธาตุแก่นนคร ได้จัดแสดงผ่านภาพจิตรกรรมฝาผนังที่ชั้น 4 ของพระมหาธาตุแก่นนคร โดยมี

Continue Reading
ข้าว: นิทานปรัมปราและการปลูกข้าวแบบชาวบ้านเล่า

ข้าว: นิทานปรัมปราและการปลูกข้าวแบบชาวบ้านเล่า

นิทานเรื่องหนึ่งที่พ่อของผู้เขียนเล่าให้ฟังอยู่หลายครั้ง พ่อเล่าว่าเป็นเรื่องโบราณที่เล่าต่อกันมาเป็นนิทานที่สอนให้รู้และให้คิดตามว่า คนเราอดข้าวไม่ได้ เมื่อได้กินก็ให้กินให้อิ่ม อย่าเหลือทิ้งขว้าง

นิทานเรื่อง “ข้าวติดหีหมา” (ขออภัยสำหรับชื่อเรื่อง เป็นคำโบราณแบบนี้จริงๆ ตอนพ่อเล่าให้ฟัง ) เนื้อเรื่องมีดังนี้..

มีคราวหนึ่งแล้งมาก … Continue Reading

วัตถุดิบในครัว “อาหารอีสาน” โดย อีสานเหนือ

วัตถุดิบในครัว “อาหารอีสาน” โดย อีสานเหนือ

มาเด้อ กินเข่า(กินข้าว)…

อาหารอีสานเป็นอาหารที่ถือว่าอยู่ใกล้กับความเป็นธรรมชาติมากที่สุด เพราะเราใช้เพียงเกลือและปลาแดกหอมกรุ่นเป็นหลัก ไม่นิยมใช้น้ำมันทอดหรือใช้น้ำตาล จึงสามารถดึงเอารสชาติของวัตถุดิบนั้นออกมาได้อย่างหอมหวาน กลมกล่อม และเป็นธรรมชาติ และยิ่งทวีความแซบเหลือหลายเมื่อทานกับข้าวเหนียวร้อนๆ ได้ซดน้ำจากต้มเนื้อใส่ใบมะขาม ได้ปั้นข้าวเหนียวจ้ำแจ่วกินกับแตงกวาอ่อน ได้ฉีกปลาย่างเคี้ยวตุ่ยๆ ได้กินห่อหมกไข่จักจั่นช่วงหน้าแล้ง

Continue Reading
สารพัดพาชม: ตอน พิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นเมืองพีวอคี สหรัฐอเมริกา (Various things to see: The Local History Museum in Pewaukee, USA)

สารพัดพาชม: ตอน พิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นเมืองพีวอคี สหรัฐอเมริกา (Various things to see: The Local History Museum in Pewaukee, USA)

พิพิธภัณฑ์ประวัติศาสตร์ท้องถิ่นบ้านคลาร์ก หรือ The Clark House Museum ประจำเมืองพีวอคี (Pewaukee) รัฐวิสคอนซิน สหรัฐอเมริกา เป็นพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นเล็กๆ ที่เก็บเรื่องราวประวัติศาสตร์ของการตั้งเมืองและการหาอยู่หากินของผู้คนเมืองพีวอคี
พิพิธภัณฑ์แห่งนี้มีการดูแลดีมากจากจิตอาสารุ่นพ่อแม่ปู่ย่าตายาย … Continue Reading

บุญผะเหวด: พิธีกรรมแบบอีสานและมงคลแห่ง “น้ำ” ในที่ราบสูงโคราช ณ วัดบ้านลาน ขอนแก่น

บุญผะเหวด: พิธีกรรมแบบอีสานและมงคลแห่ง “น้ำ” ในที่ราบสูงโคราช ณ วัดบ้านลาน ขอนแก่น

จากภาพจิตรกรรมฝาผนังที่ทรงคุณค่าของวัดบ้านลาน จังหวัดขอนแก่น ซึ่งมีเรื่องราวของพระเวสสันดรชาดก พระชาติสุดท้ายที่บำเพ็ญบารมี ก่อนประสูติเป็นพระโคตมพระสัมมาสัมพุทธเจ้า อยู่โดยรอบสิมหรืออุโบสถเก่าแบบอีสานพื้นบ้านโบราณ โดยเฉพาะผนังด้านทิศใต้ที่เน้นวาดภาพแห่ “ผะเหวด” หรือ “พระเวสสันดร” กลับเข้าเมือง และตอนดังกล่าวนี้เองที่สะท้อนให้เห็นความสำคัญของงานบุญผะเหวดหรือบุญพระเวสสันดรที่มีต่อชีวิตชาวอีสานใน “พื้นที่ราบสูงโคราช” … Continue Reading

รถไฟจากอีสาน สู่หนทางแห่งตะวันตก ณ บ้านอีต่อง เหมืองแร่ปิล๊อก กาญจนบุรี

รถไฟจากอีสาน สู่หนทางแห่งตะวันตก ณ บ้านอีต่อง เหมืองแร่ปิล๊อก กาญจนบุรี

เราใช้รถด่วน CNR ออกจาก “สถานีขอนแก่น” เวลาประมาณเกือบสี่ทุ่ม ถึงหัวลำโพงประมาณเกือบ 7 โมงเช้า แล้วนั่งแท็กซี่ไปต่อรถไฟอีกขบวนที่ “สถานีธนบุรี” (เป็นรถไฟสายธรรมดาชั้นสาม ต้องมาซื้อตั๋วรถไฟที่นี่ มีเวลา … Continue Reading

“ที่ราบสูงโคราช” แหล่งกำเนิดชีวิตของภาคอีสาน อธิบายพื้นที่ทางธรณีวิทยาโดยสังเขป

“ที่ราบสูงโคราช” แหล่งกำเนิดชีวิตของภาคอีสาน อธิบายพื้นที่ทางธรณีวิทยาโดยสังเขป

“ที่ราบสูงโคราช” เป็นมาอย่างไร

ข้อมูลจากสำนักธรณีวิทยา กรมทรัพยากรธรณี กล่าวถึง ภาคอีสานตั้งอยู่บนที่ราบสูงที่เราเรียกกันว่า “ที่ราบสูงโคราช” ซึ่งมีลักษณะเป็นแอ่งกระทะหลายแอ่งและยังมีภูเขาทั้งขนาดใหญ่ขนาดย่อมลูกโดดๆ อีกหลายลูก ตามทฤษฏีแผ่นเปลือกโลกเคลื่อนที่ หรือ Plate tectonic … Continue Reading

เตรียมตัวอย่างไร เมื่ออยากไปทุ่งกะมัง เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าภูเขียว จ.ชัยภูมิ

เตรียมตัวอย่างไร เมื่ออยากไปทุ่งกะมัง เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าภูเขียว จ.ชัยภูมิ

ภูเขาหินทรายต้นกำเนิดของแม่น้ำชีลำน้ำสายใหญ่ที่ไหลผ่านหลายจังหวัดของภาคอีสานและเป็นบริเวณขอบของที่ราบสูงโคราชด้านทิศตะวันตกเฉียงใต้ เป็นที่ตั้งของเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าภูเขียว หรือเรามักรู้จักกันในนามของ “ทุ่งกะมัง” เป็นป่าที่อุดมสมบูรณ์และมีสัตว์ป่าอยู่เป็นจำนวนมาก โดยเฉพาะกวางและช้างที่หากินอยู่ตามธรรมชาติ และยังมีนกทั้งพื้นถิ่นและอพยพหลากหลายชนิด ทำให้ทุ่งกะมังเป็นสถานที่ที่มีชื่อเสียงสำหรับผู้ที่ชื่นชอบในการถ่ายภาพนกสวยงามได้ตลอดทั้งปี..

เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า ภูเขียว ทุ่งกะมัง ชัยภูมิ อีสาน เที่ยว

เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าภูเขียว ธรรมชาติ ทุ่งกะมัง ชัยภูมิ อีสาน เที่ยว

ช่วงปลายฝนต้นหนาวยังเป็นช่วงที่ดี มีโอกาสถ่ายภาพของผีเสื้อสวยงามหลากหลายสายพันธุ์เป็นฝูงใหญ่ ซึ่งออกมาหากินเกลืออยู่ตามโป่งตามข้างถนนเป็นจำนวนมาก มีโอกาสเจอแลนหรือตะกวดอยู่ตามต้นไม้ รวมไปถึงตัวเงินตัวทองที่ออกมานอนผึ่งแดดใกล้กับหนองน้ำ … Continue Reading

“ฮีตสิบสองคองสิบสี่” ในจิตรกรรมชั้น 1 พระมหาธาตุแก่นนคร วัดหนองแวงพระอารามหลวง ขอนแก่น

“ฮีตสิบสองคองสิบสี่” ในจิตรกรรมชั้น 1 พระมหาธาตุแก่นนคร วัดหนองแวงพระอารามหลวง ขอนแก่น

ฮีต คือ “รีต” ในภาษาไทย (อีสานและลาวออกเสียง ร. เป็น ฮ.) หมายถึงประเพณีที่ถือปฏิบัติสืบต่อกันมาแต่โบราณ คอง คำศัพท์เดิมหมายถึง รอยที่เป็นทางยาว เช่น

Continue Reading
“บึงกาฬ” ณ ความหมาย “บึงกาน” มนต์แห่งการเปลี่ยนแปลง “ตัวสะกด”

“บึงกาฬ” ณ ความหมาย “บึงกาน” มนต์แห่งการเปลี่ยนแปลง “ตัวสะกด”

บึงกาฬแยกความหมายได้เป็นสองคำตามพจนานุกรมราชบัณฑิตสถาน คือ “บึง” หมายถึง แหล่งน้ำขนาดใหญ่ มีน้ำขังตลอดปี และ“กาฬ” แปลว่า “ดำ” กลายเป็น บึงที่มีน้ำสีดำ ก่อนหน้านั้นบึงกาฬยังเคยสะกดด้วยคำว่า “กาญจน์”

Continue Reading
จิตรกรรมฝาผนังชั้น 1 วัดหนองแวงพระอารามหลวง: ประวัติการสร้างเมืองขอนแก่น ศาสนสถานโบราณ และวิถีวัฒนธรรม

จิตรกรรมฝาผนังชั้น 1 วัดหนองแวงพระอารามหลวง: ประวัติการสร้างเมืองขอนแก่น ศาสนสถานโบราณ และวิถีวัฒนธรรม

จากจินตนาการเรื่องราวในอดีตของเมืองขอนแก่น ผสานเข้ากับสภาพภูมิประเทศ วิถีชีวิตของผู้คน ขนบธรรมเนียมและประเพณี ภูมิความรู้ในการหาอยู่หากินการดำรงชีพแบบดั้งเดิมของชาวอีสานโดยละเอียด ได้ถูกถ่ายทอดเพื่อให้ผู้ที่สนใจสามารถเข้าใจในบริบทของสังคมในยุคต่างๆ ได้ง่าย ทำให้ภาพจิตรกรรมฝาผนังที่ชั้น 1 อันทรงคุณค่าทั้งหมดกว่า 52 ภาพ (รวมภาพ

Continue Reading