สารพัดพาชม: ตอน สถานีเพาะพันธุ์ปลาบันนาวิลล์ ณ เขื่อนไฟฟ้าพลังน้ำบันนาวิลล์ รัฐโอเรกอน สหรัฐอเมริกา

สารพัดพาชม: ตอน สถานีเพาะพันธุ์ปลาบันนาวิลล์ ณ เขื่อนไฟฟ้าพลังน้ำบันนาวิลล์ รัฐโอเรกอน สหรัฐอเมริกา

เรื่องและภาพ โดย สุทธวรรณ บีเวอ

หลายปีก่อนผู้เขียนได้เดินทางกับครอบครัวไปเยี่ยมชมสถานีเพาะพันธุ์ปลาที่ชื่อว่า บันนาวิลล์ (Bonneville Hatchery) รัฐโอเรกอน สหรัฐอเมริกา เป็นสถานที่ท่องเที่ยวที่ได้รับความนิยมมาก สร้างในปี 1909 ซึ่งสถานที่แห่งนี้เป็นสถานที่เพาะพันธุ์ปลาแซลมอนและปลาเทราต์ที่เก่าแก่ที่สุดของรัฐโอเรกอนและครบวงจรมากที่สุดแห่งหนึ่งของสหรัฐ (ปลาทั้งสองชนิดใช้ไข่มาทำไข่คาร์เวียราคาแพงนั่นเอง)  และบริเวณนี้เป็นที่ตั้งของเขื่อนไฟฟ้าพลังน้ำ คือ Bonneville Dam หรือ เขื่อนบันนาวิลล์ ที่สร้างมาตั้งแต่ปี 1934 เป็นเขื่อน 1 ใน 14 แห่งที่กั้นแม่น้ำโคลัมเบีย ตั้งอยู่ช่วงเขตรอยต่อระหว่างรัฐโอเรกอนกับรัฐวอชิงตัน ซึ่งเขื่อนนี้เองทำให้ปลาแซลมอนและปลาเทราต์ไม่สามารถขึ้นลงวางไข่ในแม่น้ำได้ตามธรรมชาติ ทำให้ความอุดมสมบูรณ์หายไป สถานีเพาะพันธุ์ปลาแห่งนี้จึงเป็นที่พึ่งที่ช่วยเหลือเรื่องการเพิ่มประชากรปลาในแม่น้ำได้เป็นอย่างดี

Bonneville Dam

บริเวณเขื่อนไฟฟ้าพลังน้ำ Bonneville Dam และสถานีเพาะพันธุ์ปลา Bonneville Hatchery อยู่ใกล้ๆ กัน สำหรับการเพาะเลี้ยงอนุบาลปลา การจัดการต่างๆ เกี่ยวกับระบบน้ำจะผันน้ำจากแม่น้ำเข้ามาภายในสถานีเพาะพันธุ์ปลาฯ

อย่างไรก็ตามหลังจากการสร้างเขื่อน โชคยังดีอยู่บ้างที่ปลาบางชนิดปรับตัวอาศัยอยู่ใต้เขื่อนรวมถึงปลาแซลมอนและปลาเทราต์ แต่ประชากรปลาก็ลดน้อยลงมาก ผู้เขียนตอนเดินทางไปหลายปีก่อนได้ยินข่าวว่าสหรัฐกำลังรื้อเขื่อนออกเรื่อยๆ เพราะอยากให้ทรัพยากรธรรมชาติกลับมา จะว่าไปแล้วอะไรจะสู้มีปลาและธรรมชาติที่อุดมสมบูรณ์ให้ได้ใช้ประโยชน์ร่วมกัน ซึ่งการรื้อเขื่อนนี้เป็นผลจากแรงกดดันจากพลังสังคม โดยกลุ่มคนที่มองเห็นแล้วว่ามีผลเสียมากกว่าผลดีหรือได้เงินแต่ไม่คุ้มค่า การเปลี่ยนแปลงเพื่อสิ่งแวดล้อมที่ดี สะอาด ปลอดภัย และสุขภาพแข็งแรงเป็นหลักสำคัญก่อนสิ่งอื่น ทำให้ชาวสหรัฐมีอายุยืนมาก ผู้เขียนเห็นในหนังสือพิมพ์เวลาเขาลงบอกข่าวคนนั้นเสียคนนี้เสียก็จะเก้าสิบกว่าๆ ทั้งนั้นเลย

สำหรับสถานีเพาะพันธุ์ปลาบันนาวิลล์ เป็นเสมือนบ้านหลังใหญ่ที่ทำการเพาะไข่ปลาได้ปีละมหาศาล เพราะที่นี่มีโรงเพาะเลี้ยงไข่ปลา และภูมิทัศน์สถานที่เพื่อการท่องเที่ยวที่เขาจัดแสดงการเพาะเลี้ยงปลา Rainbow Trout ในสระน้ำที่มีระบบเชื่อมต่อกับแม่น้ำอีกที ปลา Rainbow Trout โตเต็มวัยจะมีตัวขนาดใหญ่มาก มองเห็นประมาณเมตรกว่าๆ เลี้ยงอยู่ในน้ำตื้นๆ เหมือนพวกปลาคราฟ บ่อไม่ค่อยลึกมากนัก

Bonneville Fish Hatchery

สระน้ำแห่งนี้มีปลา Rainbow Trout ถึง 650 ตัว จัดขึ้นไว้สำหรับการชมสาธารณะเท่านั้น Rainbows Trout มีชีวิต 5 – 10 ปี และภายใต้สภาวะที่เหมาะสม ปลา Rainbow Trout สามารถโตได้ถึง 20 ปอนด์ หรืออาจจะมากกว่านั้น

เครื่องให้อาหารปลาหยอดเหรีญ จะเติมอาหารปลาวันละ 1 ครั้ง ด้วยปริมาณที่พอเหมาะต่อการเลี้ยงปลา Rainbow Trout ที่อยู่ในสระนี้ ป้ายบอกว่า “..ถ้าเครื่องนี้ว่าง แสดงว่าเลี้ยงปลาของวันนี้เสร็จแล้ว เครื่องนี้จะถูกเติมให้เต็มอีกครั้งในวันพรุ่งนี้”
ทางน้ำเชื่อมต่อเป็นระบบจากแม่น้ำ

 

โรงเพาะเลี้ยงไข่ปลา

ในช่วง Winter จะเป็นเวลาเพาะเลี้ยงปลาของสถานอนุบาลปลา ในช่วงฤดูกาลนี้ จะมีปลาที่อยู่ในช่วง several life stages ที่สถานเพาะพันธุ์ปลา ไข่และน้ำเชื้อ จะถูกผสมกันใน vertical stack trays ที่เห็นผ่านหน้าต่างกระจกใส สถานีเพาะพันธุ์ปลาบันนาวิลล์จะมีถึง 2240 ถาด สามารถบรรจุไข่ได้ถึง 6500 ฟองในแต่ละถาด

ในฤดูกาลต่างๆ ก็มีการทำงานที่แตกต่างกันออกไปตามสภาวะที่เหมาะสมต่อการเจริญเติบโตของปลา

สายพันธุ์ปลาแซลมอน

นอกจากนี้ยังมีการเพาะเลี้ยง white sturgeon ร่วมด้วย มีข้อมูลป้ายตามทางกล่าวว่า ในปี 1997 จำนวนประชากรปลาที่อยู่ล่างเขื่อนบันนาวิลล์มี white sturgeon มากกว่า 1 ล้านตัว รวมกับประชากรปลาอีก 495,000 ตัว ที่มีความยาวอยู่ประมาณ 3-6 ฟีต โดยรัฐ Oregon และ Washington จะดูแลบริหารจัดการ The sturgeon fishery หรือ สถานีเพาะเลี้ยงพันธุ์ปลา sturgeon ด้านล่างเขื่อนบันนาวิลล์ร่วมกัน และมีการจับปลาไม่เกิน 15 เปอร์เซ็นต์ของประชากรปลาในแต่ละปี
ส่วนแอ่ง(Pools) เหนือเขื่อนขึ้นไปคือ The Dalles และ John Day dams, สถานที่เพาะเลี้ยงพันธุ์ปลา sturgeon จะดูแลร่วมกับองค์กร Columbia River treaty Indian tribes การจับปลาของที่นี่จะแชร์กัน 50 – 50 ระหว่าง treaty Indian และ non-indian fishers (ชาวประมงที่ไม่ใช่อินเดียนแดง) การจับ white sturgeon ด้านล่างของเขื่อน ได้รับการจัดสรร 80 เปอร์เซ็นต์ หรือประมาณ 38,000 ตัว ไปที่กีฬาจับปลา และ 20 เปอร์เซ็นต์ สำหรับการประมงเพื่อการค้าล่างเขื่อนบันนาวิลล์ 13,000 ตัว ปลา sturgeon ส่วนมากที่จับได้จะอยู่ในแม่น้ำโคลัมเบีย ซึ่งถ้ามีขนาดต่ำกว่า 42 นิ้ว หรือ ขนาดเกิน 60 นิ้ว จะปล่อยไป นับเป็นการบริหารการจัดการปลาที่ดีเพื่อให้ได้ทั้งการอนุรักษ์ประชากรปลาและเพื่อการบริโภค

การประมงเพื่อการค้าล่างเขื่อนบันนาวิลล์จะใช้ อวนหรือข่าย(Gillnets) จับปลา Sturgeon ส่วนชาวประมงที่อยู่ด้านล่างของเขื่อน Bonneville จะใช้ gillnets จับปลา sturgeon ส่วนพวกที่เป็นเพื่อกีฬา (Sport fishermen) ก็จะใช้เบ็ดและรอกตกปลา(rod and reel) ส่วนชาวประมงอินเดียนที่ได้รับใบอนุญาต(Treaty Indian fishermen) จะใช้อวนหลายชนิด ใช้ Baited setlines และเบ็ดกับรอก ที่เหนือเขื่อน โดย นักชีววิทยาจะสังเกตการณ์การจับปลา sturgeon อย่างใกล้ชิด การจับตามโควตาที่ได้รับถือว่าไม่ละเมิดกฎหมาย การจับปลารวมถึงตัวอย่างที่ใช้สำหรับข้อมูลชีววิทยา

สำหรับที่นี่เอง ก็มีโรงงานจัดการปลาคาดว่าส่งขายด้วย มีการจับปลาขึ้นมาคัดขนาด ตัวไหนพอดีก็ตัดหัวอย่างรวดเร็วลงลังน้ำแข็งไป ส่วนตัวไหนไม่ได้ขนาดก็ปล่อยกลับคืนสู่แม่น้ำไปอย่างรวดเร็วแทบไม่มีช้ำ ที่เห็นเครื่องมือนั้นเป็นลิฟท์ยกปลาขึ้นมา แล้วก็เทไหลไปตามถาด จุดนี้เปิดให้เยี่ยมชมจากห้องกระจกอยู่ที่ชั้นสองของอาคาร

ปิดท้ายด้วย การจัดสถานที่บริเวณโดยรอบของสถานีเพาะพันธุ์ปลาให้สวยงาม ดูร่มรื่นเป็นธรรมชาติมากๆ ใครผ่านไปมาก็แวะเยี่ยมชมไม่ขาดสาย

สำหรับบทความนี้ ผู้เขียนหวังลึกๆ ว่าในอนาคตจะช่วยเรื่องลดการสูญพันธุ์ของปลาในแม่น้ำโขงและแม่น้ำต่างๆ หรืออาจจะนำไปปรับประยุกต์ใช้เพื่อกลายเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่สวยงามให้ความรู้ต่อผู้ที่สนใจ ช่วยเป็นไอเดียให้เกิดประโยชน์ต่อไป อยากให้ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำของบ้านเราเป็นแบบนี้บ้างเหมือนกัน บางทีก็เงียบๆ ไม่กล้าเข้าไปเที่ยว เพราะเป็นสถานที่ราชการ ไม่รู้มีอะไรให้ดูเหมือนแบบนี้ไหม แต่ถ้าทำแบบที่นี่ ก็มีโอกาสไปหาความรู้ และเป็นพื้นที่สวยงามเพื่อการพักผ่อนได้อีกด้วย ก็จะดีไม่น้อยเลย.

…………….

 

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *