พุทธประวัติ(ตอนที่ 1): ภาพแกะสลักบานประตูชั้นที่ 6 พระมหาธาตุแก่นนคร วัดหนองแวงพระอารามหลวง ขอนแก่น

พุทธประวัติ(ตอนที่ 1): ภาพแกะสลักบานประตูชั้นที่ 6 พระมหาธาตุแก่นนคร วัดหนองแวงพระอารามหลวง ขอนแก่น

งานแกะสลักบานประตูของชั้น 6 พระมหาธาตุแก่นนคร วัดหนองแวงพระอารามหลวง ได้มีเรื่องเล่าเกี่ยวกับพุทธประวัติของพระพุทธเจ้าอยู่หลายตอนด้วยกัน โดยมีช่างฝีมือแกะสลักคือ ช่างถาวร ก่อนแก้ว และชาวภาคเหนือ..

สามารถติดตามภาษาอังกฤษได้ใน English Version

วิธีอ่าน

ภาพแกะสลักเรื่องราวของพุทธประวัติจะเริ่มต้นทางด้านมุมทิศตะวันออกเฉียงเหนือ ด้านกำแพงฝั่งตะวันออก (หน้าบันได) และให้อ่านโดยการเดินทวนเข็มนาฬิการอบพระมหาธาตุฯ (**เรื่องพุทธประวัติของพระพุทธเจ้ายังมีต่อเนื่องอยู่ในชั้นที่ 5 ร่วมด้วย)

เริ่มต้นเรื่อง..

พระพุทธเจ้า พุทธประวัติ พระมหาธาตุแก่นนคร ขอนแก่น วัดหนองแวง ชั้น 6

เริ่มต้นเรื่องที่สวรรค์ชั้นดุสิตา พระโพธิสัตว์เตรียมการกลับมาเกิดเป็นพระชาติสุดท้าย (ได้มีการเลือกเมื่อไหร่ ที่ไหน และกับผู้ใด) และให้โอวาทธรรมแก่เหล่าเทวดาเป็นครั้งสุดท้าย ในพระชาติที่พระองค์จะทรงมาจุตินี้ ได้ทรงเลือกพระเจ้าสุทโธทนะ ซึ่งเป็นกษัตริย์ที่ทรงธรรมแห่งราชสกุลศากยะวงศ์ ผู้ซึ่งเป็นที่เคารพของคนทั่วไป โดยมีพระนางสิริมหามายาเป็นมเหสี ซึ่งมีความฉลาดหลักแหลมและบริสุทธิ์

คืนหนึ่งพระมเหสีทรงฝันว่ามีเทวดามาพาพระองค์ไปยังเทือกเขาหิมาลัย และทรงเห็นช้างเผือกเดินรอบพระองค์ 3 รอบ เมื่อทรงตื่นจากบรรทมแล้ว พราหมณ์ 64 คน ได้ทำนายฝันว่า พระองค์จะทรงตั้งพระครรภ์โดยจะมีพระโอรสเป็นผู้มีบุญญาธิการ ซึ่งจะได้เป็นกษัตริย์ผู้ยิ่งใหญ่หรือเป็นศาสดาทางศาสนาของโลก

พระพุทธเจ้า พุทธประวัติ พระมหาธาตุแก่นนคร ขอนแก่น วัดหนองแวง ชั้น 6

ต่อมาพระนางสิริมหามายา ได้เสด็จจากเมืองกบิลพัสดุ์ ไปยังวังของพระราชบิดาที่เมืองเทวหะ(เพื่อคลอดลูกตามธรรมเนียม) ระหว่างทางบริเวณที่หยุดพัก “สวนลุมพินี” ในคืนพระจันทร์วันเพ็ญ พระนางได้เข้าไปในผ้าที่ล้อมบังไว้ ทรงยืนเหนี่ยวกิ่งของต้นสาละ

เจ้าชายสิทธัตถะ ได้ออกจากพระครรภ์ของพระราชมารดา โดยไม่มีเลือดหรือมูกออกมาด้วย ทันใดนั้นเจ้าชายก็ได้ก้าวเดินไป 7 ก้าว แต่ละก้าวบริเวณพระบาทจะมีดอกบัวผลุดขึ้นมารองรับ และทรงตรัสว่า “เราจะเป็นใหญ่กว่าผู้ใดในโลก และเป็นชาติสุดท้ายในการเกิด”

พระพุทธเจ้า พุทธประวัติ พระมหาธาตุแก่นนคร ขอนแก่น วัดหนองแวง ชั้น 6

อสิตดาบสได้ยินเทวดากล่าวสาธุการ อะไรกันหนอทำให้เขาเหล่านั้นดีใจ พอฟังข่าวดี ท่านจึงได้เสด็จไปที่พระราชวังเมืองกบิลพัสดุ์ เมื่ออสิตดาบสได้เห็นมหาบุรุษลักษณ์ของเจ้าชายสิทธัตถะ จึงได้ค้อมต่ำลงแทบพระบาทของเจ้าชาย ก่อนประกาศว่าพระราชโอรสผู้นี้จะเป็นพระพุทธเจ้า

พระพุทธเจ้า พุทธประวัติ พระมหาธาตุแก่นนคร ขอนแก่น วัดหนองแวง ชั้น 6

หลายปีต่อมา พระบิดาได้นำเจ้าชายสิทธัตถะไปยังพระราชพิธีจรดพระนังคัลแรกนาขวัญที่ทุ่งนานอกเมืองกบิลพัสดุ์ และวางพระองค์ไว้บนพระที่นั่งใต้ต้นไม้ เมื่อเหล่าพระพี่เลี้ยงได้แต่เพลิดเพลินดูพิธีการ เจ้าชายสิทธัตถะได้ทรงลุกขึ้นนั่ง และทำสมาธิเป็นครั้งแรก เวลาล่วงเลยผ่านคล้อย เงาที่น่าจะเลื่อนคล้อยตามแสงพระอาทิตย์อย่างปกติ หาได้เป็นเช่นนั้นไม่ เงานั้นยังคงทอดเหนือพระวรกายราวกับหยุดนิ่งอยู่เช่นเดิม

เมื่อเจ้าชายสิทธัตถะพระชมมายุได้ 16 ชันษา พร้อมที่จะอภิเษกสมรส หลายตระกูลของราชวงศ์ศากยะไม่เชื่อว่าพระองค์จะมีศิลปะการต่อสู้ เพราะว่าอาศัยอยู่แต่ในวัง ดังนั้นเพื่อเป็นการพิสูจน์ตัวเอง พระองค์จึงได้ทรงแสดงการยิงธนู ซึ่งเป็นพระองค์เป็นเพียงผู้เดียวในบรรดาเจ้าชาย ที่สามารถมีพละกำลังโก่งคันธนูของพระอัยกาได้

พระพุทธเจ้า พุทธประวัติ พระมหาธาตุแก่นนคร ขอนแก่น วัดหนองแวง ชั้น 6

เจ้าชายสิทธัตถะทรงอภิเษกสมรสกับพระนางยโสธราผู้หาใครเปรียบมิได้ พระพรหมได้เสด็จลงมาประสาทพรโดยการรดน้ำลงบนมือของทั้งคู่

พระพุทธเจ้า พุทธประวัติ พระมหาธาตุแก่นนคร ขอนแก่น วัดหนองแวง ชั้น 6

เจ้าชายสิทธัตถะทรงมีชีวิตที่เพียบพร้อมอยู่ในปราสาท 3 หลัง มีนางรำฝ่ายในกว่าพันคน มีทุกสรรพสิ่งที่ต้องการ แต่พระองค์ก็หาได้ทรงมีความสุขไม่ วันหนึ่งเจ้าชายต้องการไปเห็นความสวยงามของอุทยานต่างๆ ที่อยู่โดยรอบราชวัง พระราชาจึงสั่งให้ทุกคนทำความสะอาด ประดับตกแต่งเมืองให้สวยงามเป็นพิเศษ และซ่อนทุกอย่างที่ไม่พึงประสงค์ทั้งคนทั้งของไว้ แต่เทวดากลับต้องการช่วยให้พระองค์ได้ไปสู่การเป็นพระพุทธเจ้า จึงทำให้พระองค์ต้องพระราชดำเนินผ่านหลงไปยังทางเส้นหนึ่ง ทรงทอดพระเนตรเห็นชายชราที่มีผิวหนังเหี่ยวย่น หัวล้าน ไม่มีฟัน พร้อมด้วยหลังที่โก่งงอเดินตัวสั่นเทา ต้องใช้ไม้เท้าพยุงพร้อมกับการพยายามสูดอากาศเพื่อให้มีลมหายใจอยู่ เจ้าชายทรงตกพระทัยมาก เพราะไม่เคยเห็นคนลักษณะเช่นนี้มาก่อน จึงถามนายฉันนะผู้ติดตามซึ่งเป็นสารถีรถม้าว่า เกิดอะไรขึ้นกับชายผู้นั้น นายฉันนะจึงตอบว่า เขาเป็น “คนชรา” และอธิบายว่านี่เป็นความจริงของชีวิต ทำให้เจ้าชายทรงรู้สึกหดหู่ใจมาก และเสด็จกลับเมือง

หลายวันต่อมา เจ้าชายสิทธัตถะทรงอยากจะไปเยี่ยมชมอุทยานอีกครั้ง พระราชาจึงให้ทำความสะอาดตามเส้นทางโดยปิดบังซ่อนเร้นทุกอย่างที่ไม่ต้องการเช่นเดิม แต่เหล่าเทวดาก็ได้ทำให้เจ้าชายทรงทอดพระเนตรเห็นเทวทูตอีก ซึ่งครั้งนี้มาในรูปของชายที่มีรูปลักษณะน่าขยะแขยง ป่วยดีซ่าน มือเท้าบวม ใบหน้าเนื้อตัวเต็มไปด้วยบาดแผลที่มีแมลงวันบินตอม นายฉันนะจึงอธิบายว่า สิ่งนั้นคือ “โรคภัยไข้เจ็บ” อันขโมยทั้งความสวย ความแข็งแรง และความสดใสร่าเริงไปจากเรา เจ้าชายทราบดังนั้นก็รู้สึกหดหู่ใจ และทรงเดินทางกลับเข้าวังแทนที่จะไปอุทยาน

พระพุทธเจ้า พุทธประวัติ พระมหาธาตุแก่นนคร ขอนแก่น วัดหนองแวง ชั้น 6

ในเวลาต่อมา เจ้าชายสิทธัตถะต้องการเสด็จประพาสป่า อีกครั้งที่ถนนหนทางถูกจัดแจงให้ดูเรียบร้อยสวยงามโดยคำสั่งพระราชา แต่เทวดาก็ได้เข้ามาขัดจังหวะ คราวนี้ทำให้พระองค์ทอดพระเนตรเห็นซากศพ เจ้าชายไม่เคยได้ยินเกี่ยวกับความตายมาก่อน นายฉันนะจึงได้อธิบาย หลังจากได้ฟังแล้ว เจ้าชายจึงหันขบวนกลับไปยังพระราชวังแทน

และก็เป็นอีกครั้งหนึ่งในที่สุดเจ้าชายก็ทนความอยากที่จะไปเที่ยวอุทยานไม่ได้ พระราชาเองก็ได้จัดเตรียมถนนหนทางอีกเช่นเดิม แต่ครั้งนี้เทวดาได้ทำให้เจ้าชายทรงมองเห็นนักบวชสวมจีวรสีเหลืองถือบาตร เจ้าชายสิทธัตถะทรงหยุดพูดกับนักบวช ผู้อธิบายให้ฟังว่า เขาคือชายผู้ถือความสันโดษ สงบ ใช้ชีวิตเรียบง่าย และแสวงหาหนทางแห่งการพ้นทุกข์

พระพุทธเจ้า พุทธประวัติ พระมหาธาตุแก่นนคร ขอนแก่น วัดหนองแวง ชั้น 6

หลังจากที่ได้มองเห็นเทวทูตทั้ง 4 (ที่พระบิดาทรงพยายามปิดบังมาตลอด) เจ้าชายสิทธัตถะก็ได้คิดถึงการออกจากวังและหาหนทางแห่งการดับทุกข์ แต่ในวันที่พระองค์เสด็จออกจากเมืองนั้น พระนางยโสธราก็ได้ให้กำเนิดพระราชโอรสชื่อว่า ราหุล (แปลว่า ห่วง หรือพันธนาการ) ทำให้พระองค์ต้องเสด็จกลับไปยังงานเฉลิมฉลองอันยิ่งใหญ่ ภายในงานพระองค์ทรงถูกรายล้อมไปด้วยเหล่าหญิงงามดุจดังอยู่บนสวรรค์ มีทั้งร้องเพลงบรรเลงดนตรีขับกล่อม แต่ก็หาได้ทรงพระสำราญไม่ ทรงกลับบรรทมหลับไปอย่างรวดเร็ว และท่ามกลางคืนที่เงียบสงัดพระองค์ทรงตื่นจากพระบรรทม ทอดพระเนตรไปเห็นเหล่านางฟ้านอนหลับเสื้อผ้าหน้าผมกระเซิงอยู่บนพื้นราวกับซากศพที่นอนอยู่เรียงราย ทำให้พระองค์ทรงตัดสินพระทัยแน่วแน่ที่จะออกจากวัง และเมื่อพระองค์ทรงทอดพระเนตรภรรยาและพระราชโอรสบรรทมอยู่ข้างกัน ทรงไม่ได้ตรัสอะไร จึงทำให้ไม่มีสิ่งใดเข้ามาขัดขวางให้ทรงเปลี่ยนพระทัยอันแน่วแน่ได้

เจ้าชายสิทธัตถะได้ขี่ม้ากัณฐกะผู้ซื่อสัตย์พร้อมกับผู้ช่วยเหลือพระองค์คือ ฉันนะ ในการเริ่มต้นสู่หนทางที่ละทุกสิ่ง

พระพุทธเจ้า พุทธประวัติ พระมหาธาตุแก่นนคร ขอนแก่น วัดหนองแวง ชั้น 6

หลังจากพวกเขาออกจากเมืองโดยบินข้ามกำแพงเมืองและขี่ไกลออกไปจนถึงแม่น้ำอโนมา ที่แห่งนี้เจ้าชายสิทธัตถะได้ทรงตัดพระโมฬี(มวยผม) ด้วยดาบ

พระพุทธเจ้า พุทธประวัติ พระมหาธาตุแก่นนคร ขอนแก่น วัดหนองแวง ชั้น 6

เทวดาได้นำเอาพระเกศาของเจ้าชายสิทธัตถะ ไปไว้กราบไหว้บูชายังสวรรค์

ส่วนเสื้อไหมของพระองค์นั้นเกินกว่าความจำเป็น จึงทรงเปลี่ยนเป็นจีวรสีหญ้าฝรั่น โดยมีเทวดาเป็นผู้นำมาให้

พระพุทธเจ้า พุทธประวัติ พระมหาธาตุแก่นนคร ขอนแก่น วัดหนองแวง ชั้น 6

เจ้าชายสิทธัตถะได้ส่งนายฉันนะและม้ากันฐกะกลับสู่เมือง พร้อมด้วยสารแจ้งบอกกล่าวแก่ทุกคนว่า หากสามารถตรัสรู้หนทางแห่งการดับทุกข์แล้ว พระองค์จะกลับมา ม้ากัณฐกะโศกเศร้ามากที่ต้องจากเจ้าชาย จึงหัวใจแตกสลายและตายไปเกิดอยู่บนสวรรค์

พระพุทธเจ้า พุทธประวัติ พระมหาธาตุแก่นนคร ขอนแก่น วัดหนองแวง ชั้น 6

พระสมณโคดม หรือ นักบวชผู้สงบกิเลสแล้ว (สมณโคตม (สะ-มะ-นะ-โค-ตะ-มะ) แปลว่า พระสมณะผู้เกิดในวงศ์โคดม) ได้ไปอาศัยอยู่กับนักบวชทั้ง 5 หรือปัญจวัคคีย์ ด้วยความเชื่อแห่งการทรมานตนเองเพื่อบรรลุปัญญาขั้นสูงสุด พระสมณโคดมทรงทรมานตนด้วยวิธีการนานัปการ ทั้งการอดอาหาร นอนบนหนาม ไม่อาบน้ำ กั้นลมหายใจจนกระทั่งปวดศีรษะ เป็นต้น ทำให้เริ่มป่วยและอ่อนแอ กระทั่งร่างกายกระดูกซี่โครงปูดโปน และผิวหนังแตกแห้งเป็นขุย

พระพุทธเจ้า พุทธประวัติ พระมหาธาตุแก่นนคร ขอนแก่น วัดหนองแวง ชั้น 6

เช้าวันต่อมา พระสมณโคดมเสด็จออกไปประทับอยู่ใต้ต้นไม้ ต่อมาได้มีนางสุชาดาที่เคยบนบานรุกขเทวดา(เทวดาสถิตอยู่ที่ต้นไม้) เพื่อขอให้ได้สามีที่มีชาติตระกูลเสมอกันและได้บุตรชาย และเมื่อได้สมหวังแล้ว ในวันนี้นางสุชาดาก็ได้จัดเตรียมข้าวที่หุงด้วยน้ำนมมาถวาย โดยใช้น้ำนมที่ได้จากการเลือกแม่วัวหนึ่งพันตัวจนเหลือเพียง 8 ตัว ซึ่งได้บำรุงเลี้ยงไว้เป็นอย่างดี เพื่อถวายแก้บน และเมื่อนางมองเห็นพระสมณโคดมผู้มีรูปกายดั่งทองเปล่งประกาย นางจึงเชื่อว่าพระสมณโคดมนั้นคือรุกขเทวดาที่จะเข้ามารับเอาของแก้บนนั่นเอง
นางสุชาดาได้ถวายภัตตาหารในถาดทองรวมทั้งถาดไปด้วย หลังจากพระสมณโคดมฉันเสร็จ จึงได้นำถาดนั้นไปลอยในแม่น้ำ พร้อมกับเสี่ยงทายว่า “หากพระองค์ได้สำเร็จเป็นพระพุทธเจ้าในกาลปัจจุบัน ขอให้ถาดนี้จงลอยทวนขึ้นไปเหนือน้ำ” และในที่สุดเมื่อได้ทรงลอยถาดทองลง ถาดก็ได้ลอยทวนกระแสน้ำขึ้นไปยังบริเวณใจกลางแม่น้ำ และจมลงสู่บริเวณเดียวกับถาดของพระพุทธเจ้าในภัทรกัลป์ก่อนหน้าทั้งสามพระองค์ ที่ต่างได้เคยลอยเสี่ยงทายไว้ และจมลงในบริเวณนั้นเช่นกัน

พระพุทธเจ้า พุทธประวัติ พระมหาธาตุแก่นนคร ขอนแก่น วัดหนองแวง ชั้น 6

ในบ่ายวันเดียวกันนั้น พระสมณโคดมได้นั่งบนอาสนะใต้ต้นไม้ (ซึ่งต่อมาภายหลังจึงเรียกว่า ต้นโพธิ์) และตั้งใจจะไม่ออกจากที่ประทับจนกว่าพระองค์ทรงสำเร็จโพธิญาณ ส่วนพระยามารผู้ไม่ต้องการให้พระองค์ทรงทำสำเร็จ ต้องการที่จะทำลายความตั้งใจนั้นด้วยกิเลสต่างๆ นานา แต่พระสมณโคดมก็สามารถต้านทานได้ทุกประการ และเมื่อถึงตอน “มารผจญ” พญามารกล่าวตู่เอาที่ประทับของพระสมณโคดมคืน พระสมณโคดมไม่มีพยานว่าที่ประทับนั้นเป็นของพระองค์ จึงได้ใช้พระหัตถ์สัมผัสไปบนพื้นดิน เพื่อเรียกพระแม่ธรณีมาเป็นพยาน พระแม่ธรณีจึงได้ขึ้นมา และได้บีบมวยผมจนน้ำไหลออกมาท่วมพัดเอาพวกมารหายไป ซึ่งน้ำที่ออกมาจากมวยผมของพระแม่ธรณีนี้คือน้ำที่พระสมณโคดมได้ทรงกรวดทุกครั้งเมื่อบำเพ็ญบุญบารมีมานับร้อยนับพันพระชาติ และพระแม่ธรณีได้เก็บไว้ที่มวยผมนั่นเอง

พระพุทธเจ้า พุทธประวัติ พระมหาธาตุแก่นนคร ขอนแก่น วัดหนองแวง ชั้น 6

พระองค์นั่งสมาธิตั้งแต่กลางคืนไปจนรุ่งอรุณ ทรงระลึกพระชาติได้หลายร้อยหลายพันพระชาติ จนเข้าใจถึงความจริงของความไม่เที่ยงของทุกสิ่งและกฎแห่งกรรม ทรงค้นพบหนทางดับทุกข์ 4 ประการ หรือ อริยสัจ 4 และมรรคมีองค์ 8 และพระองค์ก็ได้ทรงตรัสรู้ และหลุดพ้นจากสังสารวัฏหรือความทุกข์จากการยึดติด พระองค์ทรงรู้วิธีทำให้หลุดพ้นซึ่งความทุกข์ และในที่สุดก็ทรงเป็นพระพุทธเจ้า
ใน 7 สัปดาห์ถัดมา พระพุทธเจ้ายังทรงประทับอยู่ที่ใกล้ต้นโพธิ์เพื่อทำสมาธิ ในสัปดาห์แรกพระองค์ทรงอยู่ที่โพธิ์ต้นเดิม และทรงประทับเสวยวิมุติสุข(พักผ่อน) ก่อนที่สัปดาห์ถัดมาจะทรงย้ายไปอีกบริเวณหนึ่ง

พระพุทธเจ้า พุทธประวัติ พระมหาธาตุแก่นนคร ขอนแก่น วัดหนองแวง ชั้น 6

(ภาพแกะสลักชิ้นต่อมานี้ ไม่ต่อเนื่องเนื้อเรื่องกัน ห่างจากเหตุการณ์ที่พระพุทธเจ้าตรัสรู้ใหม่ๆ)

มีอยู่คราวหนึ่งเมื่อพระรูปหนึ่งได้ผิดกฎสงฆ์โดยรู้เท่าไม่ถึงการณ์ โดยเหลือน้ำที่ใช้ในห้องน้ำเพียงนิดหน่อย ทำให้พระอีกรูปได้ตำหนิถึงความไม่รู้ เป็นเหตุให้เกิดความหมางใจกันระหว่างกลุ่มสงฆ์สองฝ่าย คือ ฝ่ายเชี่ยวชาญธรรมมะ และอีกฝ่ายเชี่ยวชาญพระธรรมวินัย พระพุทธเจ้าได้เสด็จมาห้ามความขัดแย้งของทั้งสองฝ่ายให้สามัคคีปรองดองกันเช่นเดิม แต่ก็หามีใครฟังไม่ พระพุทธองค์จึงทรงเสด็จเข้าป่าสู่ความวิเวกสงบ ในระหว่างสามเดือนที่ทรงอยู่ในป่าได้มีช้างและลิงเป็นผู้ปรนนิบัติรับใช้หาอาหารและน้ำดื่มมาถวาย

(จบตอนพุทธประวัติของชั้นที่ 6 เพียงเท่านี้)

ติดตามข้อมูลอื่นๆ ของพระมหาธาตุแก่นนครแต่ละชั้นได้ ที่หัวข้อ วัดหนองแวง พระอารามหลวง

……..

ผู้เขียน Tim Bewer

(www.TIMSTHAILAND.COM)

ผู้แปล สุทธวรรณ บีเวอ

Isan Insight

 

แหล่งข้อมูลเพิ่มเติม

** ภาพแกะสลักบานหน้าต่างเกี่ยวกับเรื่องพุทธประวัตินี้ มีลักษณะรายละเอียดเรื่องเล่าคล้ายถอดจากสมุดภาพพระพุทธประวัติ ฉบับอนุรักษ์ภาพเขียนทางพระพุทธศาสนา โดย ครูเหม เวชกร

สมุดภาพพระพุทธประวัติ
ฉบับอนุรักษ์ภาพเขียนทางพระพุทธศาสนา โดย ครูเหม เวชกร
พร้อมคำบรรยายประกอบภาพเขียนอันทรงคุณค่าทางวัฒนธรรมและประเพณีไทย

https://84000.org/tipitaka/picture/f00.html

 

 

 

 

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *