ภาพวาดพระพุทธรูปประจำวันเกิด เทพนพเคราะห์ เทพประจำทิศ และสัตว์ประจำทิศ ณ ชั้น 4 พระมหาธาตุแก่นนคร ขอนแก่น

ภาพวาดพระพุทธรูปประจำวันเกิด เทพนพเคราะห์ เทพประจำทิศ และสัตว์ประจำทิศ ณ ชั้น 4 พระมหาธาตุแก่นนคร ขอนแก่น

สำหรับภาพวาดบนบานประตูและหน้าต่างของชั้น 4 พระมหาธาตุแก่นนครขอนแก่น ณ วัดหนองแวงพระอารามหลวง มีความเกี่ยวข้องกับเทวดานพเคราะห์ พระประจำวันเกิด เทพประจำทิศ และสัตว์ประจำทิศ(ตัวผึ้งตัวเสวย) ตามหลักของโหราศาสตร์โบราณ โดยวันพุธจะแยกเป็นกลางวันและกลางคืน ทำให้เกิดเป็น 8 กลุ่ม และกลายเป็น 8 วัน ใน 1 สัปดาห์ ภาพศิลปะวาดโดย คุณอุทัยทอง จันทกร จากกาฬสินธุ์ 

สำหรับบทความนี้ภาพที่เห็นจะลำดับตามทิศตามเข็มนาฬิกาไปรอบพระมหาธาตุ มีแผนผังดังนี้

โดยการอธิบายของชั้นนี้ จะใช้หนังสืออยู่สองเล่มด้วยกันเพื่อการอ้างอิงข้อมูล ได้แก่ ตำรา พรหมชาติ ฉบับสมบูรณ์ โดย คุณหมอใหญ่ (ลาภ กลั่นเจริญ) และตำราพรหมชาติ สำหรับประชาชน โดย พ.สุวรรณ ซึ่งผู้ที่สนใจหาอ่านเพิ่มเติมรายละเอียดได้ในหนังสือดังกล่าว โดยในการอธิบายของชั้นนี้ แอดมินขออนุญาตอธิบายโดยคร่าว เพื่อสะดวกสำหรับการเดินชมในชั้นที่ 4 ของพระมหาธาตุแก่นนครเป็นหลัก

จากตำนานนพเคราะห์แอดมินขอยกเนื้อหาบางส่วนจากหนังสือ ตำราพรหมชาติ สำหรับประชาชน ของ พ.สุวรรณ เพื่ออธิบายว่าอะไรคือเทวดานพเคราะห์ โดยจากคัมภีร์โบราณกล่าวว่า เขาพระสุเมรุที่ป่าหิมพานต์ในอินเดียเป็นแกนกลางของโลก คือ เป็นจุดศูนย์กลางแห่งวงกลม ซึ่งเป็นวิถีโคจรของดาวทั้งหลายที่โคจร (เดินเวียน) รอบโลก ได้แก่ดาว ซึ่งเดินตามวิถีของตนเอง เรียกว่า “ดาวเคราะห์” และอีกพวกหนึ่งได้แก่ดาว ซึ่งเดินตามไม่ได้ อยู่ประจำที่ในท้องฟ้าเรียกว่า “นักษัตรฤกษ์” หรือ “ดาวฤกษ์” จากตำราฝรั่งแบ่งดาวออกเป็น 2 ประเภท เหมือนกัน และกล่าวอีกว่า พระเคราะห์แปลจากดาวฤกษ์ โดยลักษณะ 3 ประการ ดังนี้
1.พระเคราะห์ที่ไม่มีแสงไหวๆ เหมือนดังแสงดาวฤกษ์

2.เมื่อมองพระเคราะห์ด้วยกล้องโทรทรรศน์ จะเห็นเป็นขนาดใหญ่พอวัดได้ แต่ถ้าใช้กล้องนั้นมองดาวฤกษ์ จะเห็นพอแต่เป็นจุดสว่างตามขนาดเดิม อยู่เสมอ

3.พระเคราะห์เมื่อเคลื่อนไปในท้องฟ้า โดยสังเกตได้ด้วยสายตาของเราเอง แต่ดาวฤกษ์นั้นก็จะเห็นอยู่ประจำที่เสมอ แม้จะใช้กล้องโทรทัศน์ขนาดใหญ่เท่าใดมอง และจะมองเป็นเวลานานเท่าใดก็จะไม่เคลื่อนที่แม้แต่นิดเดียว

พระเคราะห์ตามหลักโหราศาสตร์ มี 9 ดวง คือ พระอาทิตย์ พระจันทร์ พระอังคาร พระพุธ พระพฤหัสบดี พระศุกร์ พระเสาร์ พระราหู และพระเกตุ

ทางโหราศาสตร์สมมุติให้พระอาทิตย์แทนโลก อย่างที่เราซึ่งเห็นทางตะวันออก แล้วโคจรผ่านหัวไปทางทิศตะวันตกนั้น ดังนั้นพระอาทิตย์ (มัธยมและสมผุส) จึงมีราศีองศา และลิปดาเหมือนพระเคราะห์ทั่วไป
ส่วนพระราหูและพระเกตุนั้น ไม่ได้เป็นดาวอย่างพระเคราะห์อื่น ๆ แต่เป็นจุดสมมุติ แห่งโคจรวิถีของพระจันทร์และเส้นวิถีพระอาทิตย์จากวิตะถันดรข้างเหนือไปข้างใต้ และจากข้างใต้ไปข้างเหนือเดือนละสองครั้งทุก ๆ เดือน จุดสมมุติที่พระจันทร์โคจรผ่านวิถีทางพระอาทิตย์จากข้างเหนือไปข้างใต้เรียกว่า “ราหู” และจุดสมมุติที่พระจันทร์โคจรผ่านวิถีทางพระอาทิตย์จากข้างใต้ไปข้างเหนือเรียกว่า “เกตุ”

จุดสมมุติทั้งสองนี้ (ราหูและเกตุ) เป็นหลักสำคัญที่สุดในทางคำนวณเลขสำหรับหาวันและเวลาที่จะมีสุริยะฆาตและจันทรฆาต และสำหรับผูกดวงชะตา ด้วยเหตุนี้ตำราโหราศาสตร์จึงสมมุตให้ราหูและเกตุเป็นดาว ซึ่งเดินได้เหมือนพระเคราะห์อื่นๆ แต่ราหูและเกตุเดินจากขวาไปซ้าย ส่วนดาวพระเคราะห์อื่น ๆ เดินจากซ้ายไปขวาทุก ๆ ดวง

ตำนานกล่าวอีกว่า พระเคราะห์ทั้งหลายอยู่ห่างไกลจากโลกและโคจรรอบวิถีทางของตนตามลำดับและกำหนดเวลา กับทั้งยังได้กล่าวอีกว่า พระเสาร์เป็นพระเคราะห์ที่อยู่สูงกว่าพระเคราะห์ทั้งหลายและสูงกว่าพระเคราะห์ขึ้นไปนั้น มีแต่ดาวประจำที่หรือดาวฤกษ์ทั้งสิ้น
ได้กล่าวมาแล้วว่า พระอาทิตย์ พระจันทร์ พระอังคาร พระพุธ พระพฤหัสบดี พระศุกร์และพระเสาร์เดินจากซ้ายไปขวา แต่พระราหูและพระเกตุ เดินจากขวาไปซ้าย เพราะฉะนั้นพระราหูและพระเกตุ จึงเดินสวนกับพระเคราะห์ดาวอื่น ๆ เป็นปกติเสมอ

ตามความเชื่อถือของคนสมัยก่อนเล่าว่า เมื่อพระราหูสวนกับพระอาทิตย์และพระจันทร์ทุกครั้ง พระราหูก็ตะครุบกินพระอาทิตย์และพระจันทร์ทุกที จึงทำให้เกิดอุปราคาขึ้น (สุริยุปราคาและจันทรุปราคา) ดังนั้นเมื่อเกิดอุปราคาชาวบ้านต้องตีฆ้องตีกลอง ยิงปืน อึกกะทึกครึกครื้นขึ้น เพื่อให้ราหูตกใจและเกรงขาม แล้วคลายพระอาทิตย์หรือพระจันทร์ออกจากไป ความเชื่อถือกันดังนี้ โบราณจะสืบมาจากชาติใดก็มิทราบได้ แต่เข้าใจว่าความเชื่อถือเกี่ยวกับราหูเป็นศัตรูกับพระอาทิตย์และพระจันทร์นั้นเห็นทีจะสืบมาจากอินเดีย.. (หนังสือตำราพรหมชาติ สำหรับประชาชน, 2550)

เทพนพเคราะห์แต่ละองค์ก็จะมีความเกี่ยวข้องกับวันต่างๆ ในสัปดาห์ และเป็นฐานแต่ละวันที่เราเกิดเพื่อใช้สำหรับทำนายดวงชะตา และยังใช้สำหรับการทำนายลักษณะบุคคลและข้อแนะนำเกี่ยวกับกิจกรรมและการตัดสินใจที่จะสามารถนำความโชคดีหรือความโชคร้ายมาให้ในอนาคต นอกจากนี้แต่ละวันในสัปดาห์ยังมีความเกี่ยวข้องกับปางพระพุทธรูปร่วมด้วย หรือที่เราเรียกว่า พระพุทธรูปปางประจำวันเกิด โดยส่วนใหญ่มักเกี่ยวข้องกับการทำบุญที่วัดของผู้ที่เกิดในวันนั้นๆ และยังเป็นที่นิยมบูชาที่บ้านเรือนของผู้ที่เกิดวันนั้นๆ ร่วมด้วย

ภาพสัตว์ต่างๆ จะเป็น วิธีดูดวงประจำปี (ดี-ร้าย) – สัตว์ประจำทิศ หรือเรียกว่า ตัวผึ้งตัวเสวย

ใช้สำหรับดูว่าปีนี้จะมีเคราะห์ร้ายหรือดีอย่างไร จะแก้ไขอย่างไร วิธีการคือนับตัวเสวยอายุ ตามตำราโบราณของล้านนา วิธีการนับมีดังนี้ (สามารถอ่านเพิ่มเติมแบบละเอียดในการทำนายและพิธีกรรมสะเดาะเคราะห์ได้ในหนังสือตำราพรหมชาติ สำหรับประชาชน โดย พ.สุวรรณ เช่นกัน)

ผู้ชายให้นับปีแรกที่ “เสือ” แล้วเวียนไปยัง งู และหนู ตามลำดับ จนครบอายุปัจจุบัน ตกสัตว์อะไรอ่านทำนายอันนั้น
ผู้หญิง นับอายุปีแรก คือ 1 ที่ช่อง “วัว” เวียนไปทาง รุ้ง และแมว ตามลำดับ จนครบอายุปัจจุบัน ตกสัตว์อะไรอ่านคำทำนายนั้น

ตกช่อง “เสือ” เสวยพระเสาร์ ชื่อว่า “นางสงเสพ” ในปีนี้จะได้รับความทุกข์ร้อนใจ จะเสียทรัพย์สิ่งของทั้งปวง มีอุปสรรค์และเหตุร้ายมาก มีข้อห้าม อาทิเช่น ระวังอย่ากินของมึนเมา อย่ากินเนื้อเสือ อย่าเดินทางกลางคืน อย่าไปในงานกินเลี้ยงงานแต่ง อย่าหามศพ อย่าคิดปลูกบ้านปลูกเรือน ฯลฯ และห้ามไปทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ ถ้าไปจะได้รับทุกข์ ให้ทำพิธีสะเดาะเคราะห์ เช่น ปล่อยเต่า ปล่อยนก เป็นต้น
ตกช่อง “งู” เสวยพระพฤหัสบดีชื่อว่า “หินเสมา” ในปีนี้มีเกณฑ์ชะตาโชคดีมาก จะได้แก้วแหวนเงินทองของใช้ได้สัตว์ 2 เท้า 4 เท้า จะได้เรือกสวนไร่นา แต่อย่าเอาของสีเทา(หม่น) มาไว้ในบ้าน อย่าขุดจอมปลวก อย่ากินเนื้องู อย่าขึ้นต้นไม้ อย่าไปที่คนตาย ฯลฯ พิธีสะเดาะเคราะห์ เช่น ปล่อยปลา ปล่อยนก เป็นต้น
ตกช่องราศี “หนู” เสวยราหูชื่อว่า “คนเถียงกัน” ปีนี้อายุของท่านตกในเคราะห์ร้ายมาก ระวังไฟจักไหม้ ระวังโจรขโมย อย่าเล่นมีพร้าอาวุธ อย่าเล่นน้ำ อย่าขึ้นต้นไม้ อย่าขึ้นที่สูง ฯลฯ วิธีบรรเทาเคราะห์ อย่าตี อย่าฆ่างู ให้ปล่อยปลาหมอ งู กบ เขียด เป็นต้น
ตกช่องราศี “ช้าง” เสวยในพระศุกร์ชื่อว่า “แพขวางท่า” ปีนี้ให้ระวังอย่าได้รับของฝาก จะมีโทษก็เพราะข้าวของ ๆ ผู้อื่น มักเกิดเรื่องกับผู้ใหญ่ให้โทษตน เป็นต้น วิธีหมดเคราะห์ ปล่อยหนูเผือก ปลาฝา (ตะพาบน้ำ) ปลาขาว 12 เป็นต้น
ตกในช่องราศี “วัว” เสวยพระอาทิตย์ ชื่อว่า “คนตัดต้นไม้” ในราศีนี้ให้ตั้งใจไปหาพระสงฆ์ ทำจิตให้เป็นบุญกุศล มีศีลธรรม กินเนื้อวัว เนื้อช้าง เนื้อเสือ อย่าขึ้นต้นไม้ ระวังอุบัติเหตุทางรถทางเรือ เป็นต้น พิธีสะเดาะเคราะห์ปล่อยนก ปล่อยปลาขาว ปล่อยหอยเท่าอายุ ปล่อยในแม่น้ำใหญ่ และหาไม้ค้ำต้นศรี เป็นต้น
ตกในช่องราศี “รุ้ง” เสวยพระจันทร์ ชื่อว่า “สวนดอกไม้” ได้พบคู่ครองคนรัก จะได้หมั้นหรือแต่งงาน หรือจะได้บุตรผู้ดีมีบุญจะได้รับความสำราญชื่นบานจิตใจ แม้คิดลงทุนค้าขาย ก็จะได้รับผลกำไรงดงาม แต่อย่ากินเนื้อนกต่าง ๆ และอย่าฆ่านก พิธีทำบุญปล่อยไก่ ปล่อยปลา ปล่อยหอย เป็นต้น
ตกในราศี “แมว” เสวยพระอังคาร ชื่อว่า “คนถือหน้าไม้ยิงนก” ปีนี้ได้โชคแต่เป็นทุกขลาภ ต้องทำเหนื่อยมาก ปีนี้อย่าทำร้ายแมว กินเนื้อสัตว์ระวังป่วย พิธีสะเดาะเคราะห์ ปล่อยนก ปล่อยกบ ปล่อยปลาดุก เป็นต้น
ตกในช่องราศี “สิงห์” เสวยพระพุทธ ชื่อว่า “คนถือธงเงิน” ปีนี้ดีมากค้าขายได้กำไรงาม โรคภัยจะไม่เบียดเบียน อยู่สุขสบายดี จะได้ยศศักดิ์ได้เลื่อนขั้น แต่อย่าทำร้ายสุนัข ถ้าจะให้ดีมีโชคลาภมากขึ้นให้ปล่อยนก ปล่อยปลา ทำบุญตักบาตร เป็นต้น
ภาพต่างๆ ที่ปรากฏตามลำดับในชั้น 4 พระมหาธาตุแก่นนคร มีดังนี้

นอกจากนี้แต่ละวันในสัปดาห์ยังมีความเกี่ยวข้องกับปางพระพุทธรูปร่วมด้วย หรือที่เราเรียกว่า พระพุทธรูปปางประจำวันเกิด โดยส่วนใหญ่มักเกี่ยวข้องกับการทำบุญที่วัดของผู้ที่เกิดในวันนั้นๆ และยังเป็นที่นิยมบูชาเพื่อเป็นสิริมงคลที่บ้านเรือนของผู้ที่เกิดวันนั้นๆ ร่วมด้วย

ภาพจะเริ่มต้นจากทางมุมทิศตะวันออกเฉียงเหนือ ด้านหน้าบันไดทางขึ้น

วัดหนองแวง พระมหาธาตุแก่นนคร ขอนแก่น
พระจันทร์ เทพประจำวันจันทร์ และประจำทิศตะวันออก มีม้าเป็นสัตว์พาหนะ แต่โดยปกติมักจะเห็นพระจันทร์ทรงราชรถเทียมม้า
วัดหนองแวง พระมหาธาตุแก่นนคร ขอนแก่น
พระยาครุฑ เทพประจำทิศตะวันออก
วัดหนองแวง พระมหาธาตุแก่นนคร ขอนแก่น
พระอินทร์ เทวดาผู้ดูแลพายุฝน สงคราม และสวรรค์ พระอินทร์เป็นหัวหน้าของเทวดาทั้งหมด
วัดหนองแวง พระมหาธาตุแก่นนคร ขอนแก่น
พระพุทธรูปปางห้ามสมุทร เป็นพระพุทธรูปปางประจำวันจันทร์ วันจันทร์มีปางพระพุทธรูปอยู่สองแบบ ปางนี้ค่อนข้างพบน้อย
วัดหนองแวง พระมหาธาตุแก่นนคร ขอนแก่น
ปางโปรดอสุรินทราหู หรือ ปางไสยาสน์ พระประจำวันอังคาร
วัดหนองแวง พระมหาธาตุแก่นนคร ขอนแก่น
พระอัคนีหรือพระเพลิง เทพประจำทิศตะวันออกเฉียงใต้
วัดหนองแวง พระมหาธาตุแก่นนคร ขอนแก่น
แมว สัตว์ประจำทิศตะวันออกเฉียงใต้
วัดหนองแวง พระมหาธาตุแก่นนคร ขอนแก่น
พระอังคาร เทพประจำวันอังคาร และประจำทิศตะวันออกเฉียงใต้ มีสัตว์พาหนะคือควาย
วัดหนองแวง พระมหาธาตุแก่นนคร ขอนแก่น
พระพุธ เทพประจำดาวพุธ เป็นเทพประจำวันพุธตอนกลางวัน และเป็นเทพประจำทิศใต้ มีพาหนะคือช้างเผือก
วัดหนองแวง พระมหาธาตุแก่นนคร ขอนแก่น
สิงห์ สัตว์ประจำทิศใต้
วัดหนองแวง พระมหาธาตุแก่นนคร ขอนแก่น
พระยม เทพประจำทิศใต้ เป็นเทพแห่งความตายและนรก
วัดหนองแวง พระมหาธาตุแก่นนคร ขอนแก่น
พระปางอุ้มบาตร เป็นพระพุทธรูปปางประจำวันพุธตอนกลางวัน
วัดหนองแวง พระมหาธาตุแก่นนคร ขอนแก่น
พระปางนาคปรก พระประจำวันเสาร์
วัดหนองแวง พระมหาธาตุแก่นนคร ขอนแก่น
พระนิรฤติ เทพประจำทิศตะวันตกเฉียงใต้ เป็นเทพแห่งความตายและอวมงคล ในวัฒนธรรมอินเดียพระนิรฤติจะเป็นเทวดาหญิง
วัดหนองแวง พระมหาธาตุแก่นนคร ขอนแก่น
เสื้อ สัตว์ประจำทิศตะวันตกเฉียงใต้
วัดหนองแวง พระมหาธาตุแก่นนคร ขอนแก่น
พระเสาร์ เทพประจำดาวเสาร์ และวันเสาร์ และเป็นเทพประจำทิศตะวันตกเฉียงใต้ มีพาหนะคือเสือ
วัดหนองแวง พระมหาธาตุแก่นนคร ขอนแก่น
พระพฤหัส หรือเทพเจ้าประจำดาวพฤหัส เป็นเทพประจำวันพฤหัสบดี และเทพประจำทิศตะวันตก พาหนะคือกวาง
วัดหนองแวง พระมหาธาตุแก่นนคร ขอนแก่น
พญานาค หรือ งู สัตว์ประจำทิศตะวันตก
วัดหนองแวง พระมหาธาตุแก่นนคร ขอนแก่น
พระวรุณ เทพประจำทิศตะวันตก เป็นเทพผู้ดูแลน้ำและฝน
วัดหนองแวง พระมหาธาตุแก่นนคร ขอนแก่น
พระปางตรัสรู้ พระประจำวันพฤหัสบดี
วัดหนองแวง พระมหาธาตุแก่นนคร ขอนแก่น
พระปางป่าเลไลยก์ พระพุทธรูปปางประจำวันพุธกลางคืน
วัดหนองแวง พระมหาธาตุแก่นนคร ขอนแก่น
พระพาย เทพประจำทิศตะวันตกเฉียงเหนือ เป็นเทวดาแห่งลม
วัดหนองแวง พระมหาธาตุแก่นนคร ขอนแก่น
หนู สัตว์ประจำทิศตะวันตกเฉียงเหนือ
วัดหนองแวง พระมหาธาตุแก่นนคร ขอนแก่น
พระราหู เทพประจำวันพุธกลางคืน และเป็นเทพประจำทิศตะวันตกเฉียงเหนือ โดยปกติจะเห็นมีพาหนะคือ ครุฑ แต่ที่นี่ไม่มี
วัดหนองแวง พระมหาธาตุแก่นนคร ขอนแก่น
พระศุกร์ เทพประจำดาววีนัส เป็นเทพประจำวันศุกร์ และประจำทิศเหนือ สัตว์พาหนะคือ วัว
วัดหนองแวง พระมหาธาตุแก่นนคร ขอนแก่น
ช้าง สัตว์ประจำทิศเหนือ
วัดหนองแวง พระมหาธาตุแก่นนคร ขอนแก่น
พระไพศรพณ์ เทพประจำทิศเหนือ ปกติจะเรียกท่านว่า พระกุเวร หรือ ท้าวเวสสุวรรณ ในไทย เป็นเทพประจำความมั่งคั่งร่ำรวย
วัดหนองแวง พระมหาธาตุแก่นนคร ขอนแก่น
พระปางรำพึง พระพุทธรูปประจำวันศุกร์
วัดหนองแวง พระมหาธาตุแก่นนคร ขอนแก่น
พระปางถวายเนตร พระพุทธรูปประจำวันอาทิตย์
วัดหนองแวง พระมหาธาตุแก่นนคร ขอนแก่น
พระอีศาน เทพประจำทิศตะวันออกเฉียงเหนือ เป็นอวตารของพระศิวะ เทพเจ้าแห่งการทำลาย และมีชื่อซ้ำกับภาคอีสานของไทย ส่วนมากจะพบว่าพระองค์ถือพระยานาคไว้ที่แขน
วัดหนองแวง พระมหาธาตุแก่นนคร ขอนแก่น
วัว สัตว์ประจำทิศตะวันออกเฉียงเหนือ
วัดหนองแวง พระมหาธาตุแก่นนคร ขอนแก่น
พระอาทิตย์ เทพประจำพระอาทิตย์ และวันอาทิตย์ และเป็นเทพประจำทิศตะวันออกเฉียงเหนือ มีสัตว์พาหนะคือ ไกสรราชสีห์

บทความโดย สุทธวรรณ บีเวอ อีสานอินไซต์

ภาพถ่ายโดย Tim Bewer Timsthailand

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *